ผลของสารโซเดียมเมตตาไบซัลไฟต์ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย
สณทรรศน์ นันทะไชย วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ จงวัฒนา พุ่มหิรัญ และ เบญจมาส รัตนชินกร
รายงานประจำปี 2531 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, จันทบุรี. 147 หน้า.
2532
บทคัดย่อ
ผลงานที่ปฏิบัติมาแล้วและสรุปผลการทดลอง ลิ้นจี่ทุกกรรมวิธีที่แช่ในสารละลาย
โซเดียมเมตตาไบซัลไฟต์มีสีผิวจางลง บางกรรมวิธีสีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งผลหลังเก็บรักษา
1 วัน ไม่ว่าจะเก็บที่อุณหภูมิห้องหรือที่ 10 องศาเซลเซียส ก็ตาม หลังจากเก็บไว้ 2 วัน สีผิว
จะกลับเข้มขึ้นเรื่อย ๆ แต่สีผิวจะไม่เข้มเท่า control การกลับคืนของสีผิวลิ้นจี่ที่เก็บในห้องเย็น
จะช้ากว่าอุณหภูมิห้อง ลิ้นจี่ที่เก็บอุณหภูมิห้องทุกกรรมวิธี จะเริ่มมีราขึ้นที่ผิวในวันที่ 3 ของการ
เก็บรักษาความชื้นในถุงสูงกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้มีสภาพเหมาะแก่การเจริญของเชื้อรา
ยกเว้นลิ้นจี่ที่แช่ SMS 6 เปอร์เซ็นต์ นาน 4-6 นาที จึงเริ่มมีรากทั้งนี้อาจเป็นเพราะปริมาณ SO2
ที่สะสมอยู่ที่เปลือกมีมากกว่า และยังสลายตัวไม่หมด ส่วนลิ้นจี่ที่เก็บที่ 10 องศาเซลเซียส นั้น
จะพบอาการของโรคหลังเก็บรักษานาน 2 สัปดาห์ ยกเว้นพวกที่จุ่มใน SMS 6 เปอร์เซ็นต์
นาน 3 นาที จะมีสภาพดีถึง 3 สัปดาห์ จากนั้นสีผิวจะเข้มขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่พบอาการโรค และ
รสชาติปกติ ปัญหาและอุปสรรค ลิ้นจี่นำมาทดลอง ปรากฏว่ามีการเน่าเสียมากระหว่างการเก็บ
รักษา ซึ่งเป็นการติดเชื้อมาก่อนเก็บเกี่ยว การใช้ SO2 จึงไม่สามารถยับยั้งการเน่าเสียจากการติด
เชื้อดังกล่าวได้ทำให้อายุการเก็บรักษาสั้น สำหรับการเก็บที่อุณหภูมิห้อง โดยใช้ถุงโพลีโพรพีลีน
เจาะรูระบายอากาศน้อยเกินไป ทำให้ความชื้นภายในสูงมากเป็นสาเหตุให้เชื้อราขึ้นตามผิวและขั้ว
ได้ แนวทางแก้ไข คัดเลือกลิ้นจี่จากสวนที่มีการปฏิบัติดูแลรักษาดีและสม่ำเสมอ และปรับปรุงภาชนะ
บรรจุสำหรับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิระดับอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น งานที่จะดำเนินการต่อไป
ทำการทดลองซ้ำโดยใช้ความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมทดลองกับลิ้นจี่ที่มีคุณภาพดี และ
ปรับปรุงการบรรจุหีบห่อให้เหมาะสมขึ้น เพื่อให้ลิ้นจี่ที่ใช้ SO2 นี้มีการกลับคืนของสีได้ดีขึ้น โดย
ที่ผิวไม่แห้งและสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น