บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดโรคภายหลังเก็บเกี่ยวของมังคุด

วัลลภา ธีรภาวะ ชัยวัฒน์ กระตุฤกษ์ วารุณี ปรีย์มาโนช และ ณรงค์ ทองธรรมชาติ

รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดโรคภายหลังเก็บเกี่ยวของมังคุด

ทำการทดลองเปรียบเทียบการป้องกันกำจัดโรคภายหลังเก็บเกี่ยวของมังคุด โดยการกำจัดเศษทรากพืช และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมังคุดร่วมกับการฉีดพ่นยาในแปลงปลูกตั้งแต่มังคุดเริ่มแทงช่อดอกจนถึงก่อนเก็บเกี่ยวโดยใช้ยา benomyl อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เก็บเกี่ยวผลมังคุดด้วยวิธีการสอย แล้วนำมาผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวโดยการจุ่มผลมังคุดในยา thiabendazole 500 ppm. ก่อนบรรจุหีบห่อและเก็บรักษาในห้องเย็นอุณหภูมิ 9-10ํซ ความชื้นสัมพัทธ์ 90-100 เป็นเวลา 4-5 สัปดาห์  ผลมังคุดอีกส่วนหนึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้อง จนผลเปลี่ยนเป็นสีดำแล้วจึงผ่าออกตรวจคุณภาพภายในของผล ผลการทดลองสรุปได้ว่าการป้องกันกำจัดโรคในแปลงปลูกทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวในการทดลองครั้งนี้ไม่มีผลในการลดการเกิดผลเน่าเสียภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งในมังคุดที่เก็บรักษาในห้องเย็น และในอุณหภูมิห้อง รวมทั้งการเกิดเชื้อราที่ขั้วผลสำหรับมังคุดที่เก็บรักษาในห้องเย็น แต่จะพบว่ามังคุดจากต้นที่มีการฉีดพ่นยาในแปลงปลูกจะมีเปอร์เซ็นต์ผลที่มีคุณภาพดี ไม่มีอาการเน่าเสีย ไม่มีเนื้อแก้ว และยางตกในมากกว่ามังคุดจากต้นที่ไม่มีการฉีดพ่นยา โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการสูญเสียน้ำหนักภายหลังการเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า มังคุดจากต้นที่มีการฉีดพ่นยา และมีการจุ่มยาภายหลังการเก็บเกี่ยวจะเสียน้ำหนักมากกว่ามังคุดจากต้นที่ไม่มีการฉีดพ่นยาและจุ่มยา วิธีการบรรจุหีบห่อมังคุดมีผลต่อการสูญเสียน้ำหนักมากกว่ามังคุดจากต้นที่ไม่มีการฉีดพ่นยาและจุ่มยา วิธีการบรรจุหีบห่อมังคุดมีผลต่อการสูญเสียน้ำหนักและการเน่าเสียของผลมังคุดที่เก็บรักษาไว้ในห้องเย็น โดยการบรรจุมังคุดในกล่องกระดาษที่ไม่รองและคลุมพลาสติกจะมีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด รองลงมาคือการบรรจุในกล่องที่รองและคลุมด้วยพลากสติก Crispywanp และการบรรจุมังคุดในถาดโฟม หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะเสียน้ำหนักน้อยที่สุด สำหรับ