การปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาวให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพื่อการส่งออก
ศิริพงษ์ คุ้มภัย จักรินทร์ เมฆแดง และ มาโนช ทองเจียม
รายงานประจำปี 2531 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, จันทบุรี. 147 หน้า.
2532
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ในปี 2529 ได้เริ่มโครงการและทำต่อเนื่องจากโครงการศึกษา
และรวบรวมพันธุ์ถั่วฝักยาว โดยใช้ผลการทดลองศึกษาและรวบรวมพันธุ์และนำพันธุ์ที่มี
ลักษณะตามคุณสมบัติ (breeding objective) ที่มีและเพิ่มเติมลักษณะอื่นที่ต้องการ
โดยคัดพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีและมีความสม่ำเสมอในด้านความยาวฝัก เช่น 03-01-WO-15,
03-01-WO-07, 03-01-WO-09, 03-04-RW-06, 03-05-BW-01, 03-05-BW-02,
03-04-RW-16 และ 03-04-RW-17 เป็นต้น เพื่อปลูกและคัดเลือกในฤดูฝนต่อๆไป
สรุปผลการทดลอง จากผลการทดลองที่ผ่านมาสามารถคัดเลือกพันธุ์ถั่วฝักยาวที่มีลักษณะ
และคุณสมบัติดีในด้านต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น ความยาวฝัก ขนาดฝัก
และสีของฝัก แต่ต้องเพิ่มเติมลักษณะเด่นบางอย่างเข้าไป เช่น ทนทานต่อโรคแมลงและ
สภาพแวดล้อม สามารถให้ผลผลิต สม่ำเสมอซึ่งจะทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ในฤดูต่อไป
งานที่จะดำเนินต่อไป ในปี 2532-2533 จะทำการผสมพันธุ์และคัดเลือกในรุ่น (generation)
หลัง ๆ เพื่อให้ตรงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้ และนำพันธุ์ที่คัดเลือกถูกต้องตามจุดประสงค์ไปปลูก
เพื่อทดสอบในสถานที่ต่าง ๆ