ศึกษาวิธีการบรรจุหีบห่อกล้วยไข่เพื่อการส่งออกทางเรือ
สุภา สุขเกษม ประวัติ ตันบุญเอก และ ณรงค์ ทองธรรมชาติ
รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
2532
บทคัดย่อ
ปี 2531 ได้ศึกษาการบรรจุหีบห่อกล้วยไข่ในกล่องกระดาษลูกฟูกขนาดต่าง ๆ คือ 6+13 1/2 + 20 1/2 นิ้ว, ขนาด 5 + 12+16 1/2 นิ้ว และขนาด 5+12+16 1/2 นิ้ว ซึ่งพบว่ากล่องขนาด 6+13 1/2 + 20 1/2 นิ้ว ถ้าบรรจุในลักษณะครึ่งหวีจะได้น้ำหนักมากกว่าที่บรรจุเต็มหวีประมาณ 50 ดังนั้น ในปี 2532 ซึ่งได้มีการทดสอบส่งกล้วยไข่ไปยังประเทศเดนมาร์คโดยทางเรือ จึงได้บรรจุกล้วยไข่ในลักษณะปนกัน โดยแต่ละกล่องจะบรรจุกล้วยเต็มหวี และกล้วยที่เป็นช่อ โดยใช้ขนาดกล่อง 44.5+36+17.5 ซม. ชนิดกระดาษที่ใช้คือกระดาษ 5 ชั้น 185 แกรม เกรด A ซึ่งบรรจุได้เฉลี่ยกล่องละ 6.5-7.0 กิโลกรัม แล้วบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 20 ฟุต ได้ 840 กล่อง น้ำหนักโดยเฉลี่ยที่บรรจุได้ในตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 5460-5880 กิโลกรัม เมื่อถึงปลายทาง ซึ่งรวมเวลาตั้งแต่บรรจุถึงตลาดขายส่งประเทศเดนมาร์คนาน 35 วัน นั้น พบว่ากล้วยไข่และกล่องกระดาษที่ใช้บรรจุกล้วยมีสภาพเป็นที่พอใจ