บทคัดย่องานวิจัย

เปรียบเทียบระยะเวลาในการเก็บน้ำอ้อย ปริมาณน้ำตาล และเชื้อยีสต์ ในการหมักน้ำอ้อยเป็นแอลกฮอล์ที่ 40 องศาเซลเซียส

ศุภนิตย์ หิรัญประดิษฐ์ และ สัญชัย ตันตยาภรณ์

รายงานการวิจัย กลุ่มงานจุลชีววิทยาประยุกต์ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2532

บทคัดย่อ

เปรียบเทียบระยะเวลาในการเก็บน้ำอ้อย ปริมาณน้ำตาล และเชื้อยีสต์ ในการหมักน้ำอ้อยเป็นแอลกฮอล์ที่ 40 องศาเซลเซียส

การหมักน้ำอ้อยสดเป็นแอลกฮอล์ที่ 40 องศาเซลเซียส นั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลาย

ประการ จึงได้ทำการทดลองขนส่งน้ำอ้อยจากโรงงาน โดยวิธีปรับพีเอสน้ำอ้อยเป็น 2-2.5 และ

เติมโปรแตสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ 500 พีพีเอ็ม แล้วเก็บไว้เป็นเวลา 0 1 2 3 และ 4 อาทิตย์จึง

นำมาหมักแอลกอฮอล์ด้วยยีสต์  Y168  TJ3  และ  M30  โดยนำน้ำอ้อยนั้น ๆ มาปรับความ

หวานเป็น 15 17 19 และ 21 ดีกรีบริกซ์ ต่อจากนั้นปรับพีเอชของความหวานเป็น 4.5 แล้วจึง

เติมหัวเชื้อยีสต์  หมักนาน 2 วัน  ผลปรากฏว่า การปรับพีเอชน้ำอ้อยสดเป็น 2-2.5 แล้วเติมสาร

โปรแตสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ 500 พีพีเอ็ม  สามารถช่วยรักษาไม่ให้น้ำอ้อยเสียในระหว่างการ

ขนส่ง และช่วยเก็บรักษาน้ำอ้อยไว้ไม่ให้เสียได้นานถึง  4  อาทิตย์ โดยไม่ทำให้การนำน้ำอ้อยไป

หมักเป็นแอกฮอล์แตกต่างกัน  เชื้อยีสต์ Y168  สามารถหมักน้ำอ้อนเป็นแอลกอฮอล์ได้ดีกว่าเชื้อ

TJ3 และ M30 และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง สำหรับการหมักน้ำอ้อยที่มี

ความหวาน 15 17 19 และ 21 ดีกรีบริกซ์ เป็นแอลกอฮอล์จะมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี

นัยสำคัญยิ่ง และความแตกต่างจะมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเก็บรักษาน้ำอ้อยไว้โดยการ

ปรับพีเอสเป็น 2-2.5 และเติบโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ 500 พีพีเอ็ม นาน 0-4 อาทิตย์