อายุการเก็บรักษาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ต่อประสิทธิภาพในการลอกเยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อใน
ประเทืองศรี สินชัยศรี สุนันทา เวสอุรัย ประเสริฐ อนุพันธ์ พรรณผกา รัตนโกศล ภคินี อัครเวสสะพงศ์ สาธิต พสุวิทยากุล และ สุรสิทธิ์ บุญทวี
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2533 ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ศรีสะเกษ. 359 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
การลอกเยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อในโดยการจับเวลาจากผู้ลอกเยื่อจำนวน 3 คน
ลอกเยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อในมะม่วงหิมพานต์ที่เก็บรักษาไว้ทุกระยะ 3 เดือน จนครบ 1 ปี
โดยนำเมล็ดมาตากแดดจัด 3 วัน ก่อนนำมากะเทาะ ตรวจสอบคุณภาพความชื้นของ
เมล็ดก่อนและหลังการลอกเยื่อเมล็ดที่ลอกเยื่อนำมาเก็บรักษาไว้เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษา
ผลการทดลองปรากฏว่า เวลาที่ใช้ในการกะเทาะเมล็ด 200 เมล็ด พบว่า เมล็ดดีผ่าน
การเก็บรักษา 3, 6, 9 และ 12 เดือน ใช้เวลากะเทาะไม่แตกต่างกันในทางสถิติ และ
12 เดือน ใช้เวลาน้อยที่สุด 23.22 นาที รองลงมาคือ 9 เดือน ใช้เวลา 23.26 นาที
แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการเก็บรักษา (0 เดือน) ใช้เวลากะเทาะ
32.35 นาที นอกจากนี้เมล็ดที่ผ่านการเก็บรักษา ยังจำนวนเมล็ดเสียน้อยที่สุด คือ 21 เมล็ด
เมื่อพิจารณาเวลาที่ใช้ในการลอกเยื่อจากเมล็ด 100 เมล็ด พบว่า เมล็ดที่ผ่านการเก็บรักษา
0, 3, 6 และ 12 เดือน มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการเก็บรักษา 9 เดือน โดยที่เมล็ด
ผ่านการเก็บรักษา 0 และ 3 เดือน ใช้เวลาในการลอกเยื่อน้อยที่สุด 8.48 และ 8.21 นาที
ตามลำดับ เมล็ดที่ผ่านการเก็บรักษา 9 เดือน ใช้เวลานานที่สุด 12.81 นาที นอกจากนี้ยัง
พบว่า เมล็ดที่ผ่านการเก็บรักษา (0 เดือน) มีเมล็ด เต็มสมบูรณ์น้อยที่สุด 74.00 แตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเมล็ดที่ผ่านการเก็บรักษา 3, 6, 9 และ 12 เดือน และเมล็ด
ที่ผ่านการเก็บรักษา 9 และ 12 เดือน ได้เมล็ดเต็มสมบูรณ์มากที่สุ6 คือ 89 ใช้สูตรนี้
เมื่อมีการตายเกิดขึ้นในวิธีการที่เป็น check แล้วจึงนำตัวเลขมาวิเคราะห์ผลแตกต่าง
ทางสถิติ การเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีความเป็นพิษสูง ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ แต่
สารฆ่าแมลงประเภทเหล่านี้มักมีประสิทธิภาพดีในการฆ่าแมลง และมักจะมีฤทธิ์ที่จะ
ฆ่าแมลงต่อไปได้อีกนานกว่าสารฆ่าแมลงที่มีความเป็นพิษปานกลางหรือต่ำ ดังนั้นการ
เลือกใช้จึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและประโยชน์ที่จะได้รับ ในการทดลอง