บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาหาระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเก็บข้าวโพดความชื้นระดับต่างๆ ให้ปลอดภัยจากแอฟลาทอกซิน

อรุณศรี วงษ์อุไร และ ศุภรัตน์ โฆษิตเจริญกุล

รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2533

บทคัดย่อ

ศึกษาหาระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเก็บข้าวโพดความชื้นระดับต่าง ๆ ให้ปลอดภัยจากแอฟลาทอกซิน

ผลการทดลองเก็บข้าวโพดไว้ในลักษณะเก็บทั้งฝักที่ระดับความชื้นต่าง ๆ พบว่าข้าวโพดที่มีความชื้นต่ำกว่า 15 เปอร์เซนต์จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษแอฟลาทอกซินเลยตลอด 8 สัปดาห์ที่เก็บข้าวโพดไว้ และความชื้นจะลดลงเล็กน้อยตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นในการเก็บรักษา ส่วนข้าวโพดที่มีความชื้นอยู่ในช่วง 15-20 เปอร์เซนต์จำนวน 10 ตัวอย่างก่อนจะนำมาเก็บไว้ ตรวจไม่พบสารพิษเลยในทุกตัวอย่างและหลังจากเก็บไว้ 8 สัปดาห์ก็ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษเช่นเดียวกันแต่พบว่าความชื้นจะลดลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยคือประมาณ 13 เปอร์เซนต์ ในสัปดาห์ที่ 2 และลดลงอีกเล็กน้อยตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น กลุ่มข้าวโพดที่เริ่มต้นด้วยความชื้นในช่วง 20-25 เปอร์เซนต์ จำนวน 20 ตัวอย่าง ตรวจพบสารพิษเพียงตัวอย่างเดียวในปริมาณ 12 ppb หลังจากเก็บไว้ 2 สัปดาห์พบสารพิษที่เพิ่มขึ้นอีกตัวอย่างหนึ่งในปริมาณ 3 ppb และพบสารพิษเพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัวอย่างในสัปดาห์ที่ 4 ในปริมาณ 7-38 ppb ในสัปดาห์ที่ 6 พบสารพิษสูงถึง 469 ppb  และความชื้นยังค่อนข้างสูงอยู่ ส่วนข้าวโพดที่เริ่มต้นความชื้นช่วง 25-30 เปอร์เซนต์ จำนวน 24 ตัวอย่าง ตรวจพบสารพิษหนึ่งตัวอย่างในปริมาณ 52 ppb หลังจากเก็บไว้ 2 สัปดาห์ พบการปนเปื้อนของสารพิษจำนวน 10 ตัวอย่างในปริมาณ 2-172 ppb และเพิ่มเป็น 13 ตัวอย่างในสัปดาห์ที่ 4 ในปริมาณ 8-539 ppb ในสัปดาห์ที่ 6 พบสารพิษในปริมาณ 5-494 ppb จาก 14 ตัวอย่าง และ 17 ตัวอย่างในสัปดาห์ที่ 8 ในปริมาณ 3-696 ppb กลุ่มข้าวโพดที่มีความชื้น 30-35 เปอร์เซนต์จำนวน 20 ตัวอย่าง ไม่พบสารพิษเลยก่อนนำมาเก็บไว้ 4,6 และ 8 สัปดาห์ ในปริมาณ 26-1, 155 ppb, 13-712 ppb และ 6-1, 922 ppb ตามลำดับ