ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการหมักน้ำอ้อยเป็นแอลกอฮอล์ด้วยยีสต์ที่อุณหภูมิสูง
ศุภนิตย์ หิรัญประดิษฐ์ และ สัญชัย ตันตยาภรณ์
รายงานการวิจัย กลุ่มงานจุลชีววิทยาประยุกต์ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
2533
บทคัดย่อ
ขบวนการหมักแอลกอฮอล์เกิดจากการทำงานของยีสต์ ซึ่งทำการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงาน พลังงานที่เกิดขึ้นทำให้อุณหภูมิในขบวนการหมักเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิจะขึ้นสูง ถึง 40-44ํซ ในช่วงฤดูร้อนทำให้ยีสต์ทำลานช้าลง ดังนั้น การหมักแอลกอฮอล์ด้วยยีสต์สายพันธุ์ที่สามารถทำงานได้ดีที่อุณหภูมิสูง 40ํซ ก็จะเป็นการแก้ปัญหานี้ได้ เชื้อยีสต์ Y168 ซึ่งเป็นเชื้อที่แยกและคัดเลือกได้จากธรรมชาติ สามารถจะเจริญและหมักน้ำอ้อยเป็นแอลกอฮอล์ได้ดีที่อุณหภูมิ 40ํซ หากทราบปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของยีสต์ Y168 ซึ่งได้แก่ ความหวานเริ่มต้น พีเอช การเติมกล้าเชื้อยีสต์ การเติมรำ (NH4)2 SO4, KH2PO4 และ MgSO4.7H2O พบว่าในการหมักน้ำอ้อยเป็นแอลกอฮอล์ด้วยเชื้อยีสต์ Y168 นี้ ที่อุณหภูมิ 40ํซ ความหวานเริ่มต้น 15 ดีกรีบริกซ์ (ปริมาณน้ำตาลอินเวอร์ท 15.32 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) พีเอชประมาณ 5-5.2 เติม KH2PO4 และ MgSO4.7H2O ในอัตรา 0.04 และ 0.01 (น้ำหนักต่อปริมาตร) ตามลำดับ แล้วนำไปนึ่งที่อุณหภูมิ 70ํซ เป็นเวลา 5 นาที จึงเติมกล้าเชื้อยีสต์ (ซึ่งเลี้ยงในน้ำอ้อยที่มีความหวาน 15 ดีกรีบริกซ์ ที่อุณหภูมิ 40ํซ เป็นเวลา 20 ชั่วโมง) ในอัตรา 1 โดยปริมาตร และหมักโดยการเขย่า 85 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิ 40ํซ เป็นเวลา 68 ชั่วโมง จะได้ปริมาณแอลกอฮอล์สูง 8.36 (โดยปริมาตร) และมีประสิทธิภาพในการหมัก 88.2