การผสมพันธุ์พริกชี้ฟ้าเพื่อเพิ่มผลผลิต
นรินทร์ พูลเพิ่ม จำรัส เหล็กผา เอนก บางข่า มาโนช ทองเจียม และ ชำนาญ ทองกลัด
รายงานผลการวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, จันทบุรี.
2533
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ปลูกพริกชี้ฟ้าเพื่อใช้ผสมพันธุ์ในฤดูฝน
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2533 ผสมพันธุ์คู่ผสมทั้งหมด 25 คู่ เดือน
สิงหาคม 2533 เก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อวันที่ 18-26 กันยายน 2533
สรุปผลการทดลอง เก็บเกี่ยวพริกชี้ฟ้าที่ผสมพันธุ์แต่ละคู่ เมื่อผลมี
สีแดงได้ผลผลิตจากคู่ผสม 23 คู่ น้ำหนักผลพริกแดงมีค่าเฉลี่ยั้งแต่ 2.19-
11.02 กรัม/ผล คู่ผสม #012x#013 ให้น้ำหนักสูงสุดเฉลี่ย 11.02
กรัม/ผล รองลงมา ได้แก่ คู่ผสม #016x#013 น้ำหนักผลเฉลี่ย 9 กรัม/
ผล คู่ผสม #017x#04 ให้น้ำหนักผลต่ำสุดเฉลี่ย 2.19 กรัม/ผล ผลผลิต
จากคู่ผสม 2 คู่ ได้แก่ #017x#03 และ #012x#05 ได้รับความเสียหาย
เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้
ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากการผสมพันธุ์พริกอยู่ในช่วงฤดูฝน
หลังจากติดผลแล้วผลพริกได้รับความชื้นสูง ทำให้ผลพริกที่ผสมได้โดย
เฉพาะผลพริกที่แก่จัด เกิดอาการเน่าทั้งผล ดังนั้นจึงทำให้ผลผลิตจากคู่
ผสมลดลง เพราะต้องทิ้งผลที่เสียไป และทำให้เมล็ดลูกผสมที่ได้ไม่เพียง
พอที่จะนำไปปลูกทดสอบในครั้งถัดไป
แนวทางการแก้ไข ตรวจหาเชื้อสาเหตุของโรค และป้องกันโดยใช้
สารเคมีฉีดพ่นทั้งในระยะเป็นต้นกล้าและหลังย้ายลูกลงแปลง โดยเฉพาะ
ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง
งานที่จะดำเนินการต่อไป ปลูกพันธุ์พริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด และ
เพื่อทำพริกแห้งอย่างละ 5 พันธุ์ ดังกล่าว คัดเลือกต้นที่ดีไว้ผสมพันธุ์ หลัง
จากผสมพันธุ์จะเก็บเมล็ดที่ได้จากการผสมไปปลูกทดสอบ เพื่อคัดเลือกลูก
ผสมที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดีต่อไป