การผลิตน้ำมันถั่วลิสงและแป้งถั่วลิสงพร่องไขมัน
สุปรียา ศุขเกษม อรวรรณ หวังดีธรรม วีระ ทองประไพ และ วีระศักดิ์ อนัมบุตร
รายงานการสัมมนาถั่วลิสงแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ณ โรงแรมจันทร์สมธารา ระนอง 17-21 พฤษภาคม 2536, กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ, 2536. หน้า 503-509. (568 หน้า.)
2536
บทคัดย่อ
ทำการหีบน้ำมันจากเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการอบที่อุณภูมิ 70ํC นาน 20 นาที ลอกเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก หีบด้วยแรงอัด 45,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นำน้มันที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ากรดสี ค่าเปอร์อ๊อกไซด์ ฯลฯ กากที่เหลือนำมาวิเคราะห์หาปริมาณน้ำมันตกค้าง แล้วทำการสกัดด้วยสารละลายเฮกเซน ด้วยอุณหภูมิ 55ํC จนมีปริมาณน้ำมันตกค้างในกาก 0.5 แล้วบดให้เป็นแป้งมีขนาด 200 mesh วัดปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ความชื้น และค่า PDI เปรียบเทียบสีแป้งที่ได้กับสีมาตรฐาน สรุปผลการทดลอง สามารถผลิตแป้งถั่วลิสงพร่องไขมันที่มีโปรตีนและค่า PDI สูง สีของแป้งถั่วลิสงที่ได้ยังขาดความสม่ำเสมอ จะต้องมีการคัดเลือกวัตถุดิบให้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการทดลองซ้ำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพแป้งให้สูงขึ้น น้ำมันถั่วลิสงเมื่อผ่านขั้นตอนการกลั่นใสครบขบวนการแล้ว จะได้น้ำมันถั่วลิสงที่มีคุณภาพมาตร๘าน แต่กลิ่นเฉพาะตัวของถั่วลิสงจะหมดไป ควรที่จะทดลองการกลั่นใสเฉพาะบางขั้นตอน เพื่อรักษากลิ่นตามความต้องการของตลาดต่อไป ปัญหาและอุปสรรค - ขาดเครื่อง hydraulic press ที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องขอยืมทดลองใช้จากคณะวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งบางครั้งเครื่องชำรุด ทำให้เกิดความเสียหายในการทดลอง, - ขาดความคล่องตัวในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง แนวทางแก้ไข - ควรจัดซื้อเครื่อง hydraulic press ซึ่งเป็นเครื่องหลักในการหีบน้ำมัน, - ควรจัดหาเงินหมุนเวียนให้มากพอในการจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ งานที่จะดำเนินการต่อไป - ทำการทดลองซ้ำและแก้ไขข้อบกพร่องในการทดลอง และยืนยันผลการทดลอง