การเปรียบเทียบพันธุ์พริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด
บรินทร์ พูลเพิ่ม เอกนก บางข่า จำรัส เหล็กผา มาโนช ทองเจียม และ ชำนาญ ทองกลัด
รายงานประจำปี 2533 ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พิจิตร. 2534. 225 หน้า
2534
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ปลูกพริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด โดยการย้าย
กล้าลงแปลงในฤดูแล้ง วันที่ 5 กุมภาพันธุ์ 2533 เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต วันที่ 21
มีนาคม 2533 เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย วันที่ 24 พฤาภาคม 2533 และใน
ฤดูฝน วันที่ 14 มิถุนายน 2533 เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต วันที่ 31 กรกฎาคม 2533
เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้ายวันที่ 3 ตุลาคม 2533 สรุปผลการทดลอง เมื่อปลูก
ในฤดูแล้ง พันธุ์พริกชี้ฟ้า #60 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 3065 กก./ไร่ รองลงมา
ได้แก่ #016 และ #09 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2465 และ 2395 กก./ไร่ ตามลำดับ
พันธุ์พริกชี้ฟ้า #011 ให้ผลผลิตต่ำสุดเฉลี่ย 220 กก./ไร่ เมื่อปลูกในฤดูฝน
พันธุ์พริกชี้ฟ้า #08 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 1855 กก./ไร่ รองลงมาได้แก่ #07
และ015 ให้ผลผลิคเฉลี่ย 1290 และ 1230 กก./ไร่ ตามลำดับ พันธุ์ที่ให้ผลผลิต
ต่ำสุดคือ #014 เฉลี่ย 295 กก./ไร่
ปัญหาและอุปสรรค แปลงปลูกพริกชี้ฟ้าในช่วงฤดูแล้งมักขาดน้ำ ถ้าพริกได้
รับน้ำอย่างเพียงพอ คาดว่าจะให้ผลผลิตสูงกว่านี้
แนวทางการแก้ไข ควรจัดสรรเครื่องสุบน้ำและอุปกรณ์ให้น้ำในแปลงทดลอง
อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่แปลงพริกขาดน้ำ เพื่อให้ได้ผล
การทดลองที่ดีกว่านี้
งานที่จะดำเนินการต่อไป จะปลูกพริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสด ในฤดูแล้งและฤดู
ฝนปี 2534 นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานการคัดเลือก เพื่อหาพันธุ์ที่
เหมาะสมเพื่อการบริโภคสดต่อไป