การปรับปรุงวิธีการสกัดน้ำมันปาล์มดิบสำหรับโรงงานขนาดเล็ก
วีระศักดิ์ อนัมบุตร ไพจิตร จันทรวงศ์ วีระ ทองประไพ และ สุรีปยา ศุขเกษม
รายงานการวิจัย สายงานเคมีพืชน้ำมันและสารธรรมชาติ กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
2533
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว นึ่งผลปาล์มสดที่แยกออกจากทะลายด้วยแรงคน ด้วยความดัน 1 กก./ตร.ซม. อุณหภูมิ 100ํC เป็นเวลานาน 1 ชม.ผ่านเข้าเครื่องย่อยผลปาล์มให้แหลก แล้วเข้าเครื่องหีบน้ำมันชนิดเกลียวอัด เข้าเครื่องแยกเมล็ดออกจากกาก กรองน้ำมันปาล์มแยกสิ่งเจือปนด้วย Shaking Siev ผ่านเครื่องกรองชนิดผ้ากรอง นำเข้าเครื่องอบแห้งด้วยอุณหภูมิ 80ํC ภายใต้ความด้น 20 มม. ปรอท นาน 2 ชม. เพื่อลดปริมาณน้ำในน้ำมัน ตรวจวิเคราะห์คุณภาพเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สรุปผลการทดลอง น้ำมันปาล์มดิบที่ได้มีสิ่งเจือปน และปริมาณน้ำปนมาก ทำให้ค่าของกรดไขมันสูง และมีปริมาณน้ำมัน จะต้องมีการอบนึ่งและย่อยผลปาล์มให้มีปริสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วนสีและปริมาณองค์ประกอบของกรดไขมันอยู่ในค่ามาตรฐาน ปัญหาและอุปสรรค - ขาดการประสานงานในการปฏิบัติงานที่ดีพอ ทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติงานมาก, - ขาดกำลังเงินสนับสนุนให้เพียงพอกับการปฏิบัติงาน แนวทางแก้ไข - ปรับปรุงวิธีประสานงานให้ใกล้ชิด สะดวก และรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย, - จัดสรรเงินให้เพียงพอกับการดำเนินงานเป็นงวด ๆ ไป งานที่จะดำเนินการต่อไป - ดำเนินการทดลองซ้ำ และแก้ไขวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนและแยกน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น