ศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษาแตงเทศ (ระยะที่ 1)
วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ บุญแถม ถาคำฟู ชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ วินัย เจริญกูล และ อัญชัญ มั่นแก้ว
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.
2535
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว เก็บแตงเทศพันธุ์เจคดิวนำมาปฏิบัติตามกรรมวิธีต่าง ๆ ตรวจสอบคุณภาพ
ก่อนการเก็บรักษาและหลังการเก็บรักษาทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ สรุปผลการทดลอง
พบว่า อุณหภูมิที่ใช้เก็บแตงเทศที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5-10 องศาเซลเซียส ช่วงอุณหภูมิดังกล่าวนี้
ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องของอายุการเก็บรักษาอายุการวางจำหน่าย
หลังจากเก็บรักษา ความแน่นเนื้อกลางผล ปริมาณน้ำตาล รสชาติ แต่การเก็บรักษาที่ 5 องศาเซลเซียส
มีเปอร์เซ็นต์ การสูญเสียน้ำหนักหลังจากการเก็บรักษา 2-4 สัปดาห์ น้อยกว่าการเก็บรักษาที่ 10
องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่อุณหภูมิ 5-10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาแตงเทศ
ได้นาน 3.7-4.00 สัปดาห์(ตารางที่ 2) เมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน 1, 2, 3, และ 4 สัปดาห์
แล้วสามารถออกวางจำน่ายที่อุณหภูมิห้องได้นาน 12-14 วัน 8.3-9.0 วัน 7.5-8.0 วัน และ 4.8-5.5 วัน
ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ความแน่นเนื้อกลางผลและปริมาณน้ำตาลในสัปดาห์ที่ 1-4 มีค่าใกล้เคียงกัน คือ
ประมาณ 0.5 - 0.63 กก./ตร.ซม. และ 15.28 - 16.13 องศา Brix ตามลำดับ (ตารางที่ 4 และ 5)
รสชาติของแตงเทศที่เก็บรักษานาน 1, 2, 3, และ 4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์รสชาติดี ส่วนเปอร์เซ็นต์
น้ำหนักผลที่สูญเสียในระหว่างเก็บรักษาที่ 5 องศาเซลเซียส มีค่าต่ำสุด และมีความแตกต่างทางสถิติกับ
การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เมื่อเก็บรักษาได้นาน 2, 3, และ 4 สัปดาห์ คือ 0.72, 0.92,
และ 1.34 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) การเก็บรักษาแตงเทศที่อุณหภูมิห้อง และ 15 องศาเซลเซียส พบว่า
มีอายุเก็บได้นาน 1.42 สัปดาห์ และ 2.5 สัปดาห์ ตามลำดับ โดยพบขั้วผลเน่า ความแน่นเนื้อกลางผลมี
ค่าน้อยลงเมื่ออายุการเก็บรักษานานขึ้น เมื่อเก็บรักษานานขึ้นจะมีรสชาติอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ปริมาณน้ำตาล
ของผลที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องนาน 2 สัปดาห์ ขึ้นไปจะมีค่าต่ำสุดส่วนน้ำหนักที่สูญเสียระหว่าง