บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาวิธีการเก็บรักษาขิงอ่อนเพื่อบริโภคสด

วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ ชัยณรงค์ จันทรแสนตอ วินัย เจริญกูล และอัญชัญ มั่นแก้ว

รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.

2534

บทคัดย่อ

ศึกษาวิธีการเก็บรักษาขิงอ่อนเพื่อบริโภคสด

เก็บขิงหยวก อายุ 4 เดือน จากสวนเกษตรกร จ.เชียงราย ในเดือนกันยายน นำมาปฏิบัติตามกรรมวิธี

ต่าง ๆ โดยวางแผนการทดลอง แบบ Factorial in CRD มี 3 ปัจจัย รวม 12 กรรมวิธี ดังนี้คือ

ปัจจัยที่ 1 มี 3 ระดับ คือ การไม่แช่สาร,การแช่สารละลายเบนโนมิง 400 ppm นาน 3 นาที และ

การแช่คลอรอกซ์ 10 นาน 2 นาที ปัจจัยที่ 2 มี 2 ระดับ คือการทำ curing หลังจากแช่สารละลาย

ต่าง ๆ ที่อุณหภูมิ 25-30 ํC ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 นาน 10 วัน ก่อนเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ

และการไม่ทำ curing ปัจจัยที่ 3 มี 2 ระดับ คือ อุณหภูมิที่ใช้เก็บรักษา 10 ํC และ 15 ํC โดย

บรรจุในถุงพลาสติกเจาะรู นำมาตรวจสอบคุณภาพ ทุก 2 สัปดาห์ พบว่า ขิงที่ไม่ผ่านการ curing

มีคุณภาพดีกว่า และสามารถเก็บรักษาได้นาน 4-8 สัปดาห์ แต่ขิงที่ผ่านการ curing เก็บรักษา

ได้นาน 1-2 สัปดาห์ โดยขิงจะเริ่มเหี่ยว การแช่เบนโนมิล ทำให้ขิงมีคุณภาพดีที่สุดเมื่อเก็บรักษา

นาน 4,6 และ 8 สัปดาห์ การไม่แช่สารเคมีและการแช่คลอรอกซ์มีผลใกล้เคียงกัน ส่วนอุณหภูมิ

ที่ใช้เก็บรักษาที่ 10 ํC และ 15 ํC ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเก็บรักษานาน 2,4 และ

8 สัปดาห์ แต่ที่อายุเก็บรักษษ 6 สัปดาห์ พบว่า คุณภาพของขิงที่เก็บรักษาที่ 10 ํC มีคุณภาพดี

กว่าที่ 15 ํC อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักของขิงที่ไม่ผ่านการ curing

จะน้อยกว่าขิงที่ผ่านการ curing ทุกอายุการเก็บรักษา แต่ไม่พบความแตกต่างในช่วง 2 สัปดาห์

แรก แต่เมื่อเก็บรักษานาน 4 สัปดาห์ พบว่า การเก็บรักษาขิงที่ 10 ํC มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสีย

น้ำหนักต่ำสุด วิธีการเก็บขอ่อนที่ดีที่สุด คือขิงอ่อนที่จุ่มสารละลายเบนโนมิล 400 ppm นาน

5 นาที ไม่ผ่านการ curing นำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 ํC มีคุณภาพดีที่สุด สามารถเก็บรักษา

ได้นาน 8 สัปดาห์ โดยขิงจะเริ่มเหี่ยว และวิวมีสีน้ำตาลอ่อน