ศึกษาขั้นตอนการเจริญและการสร้างสารพิษของ Aspergillus flavus ในระบบการค้าข้าวโพด
ศุภรัตน์ โฆษิตเจริญกุล ประวัติ ต้นบุญเอก กัญจนา พุทธสมัย และ K.Arai
รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
2534
บทคัดย่อ
จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรจะทำการเก็บเกี่ยวข้าวโพดในขณะที่มีความชื้นสูงในช่วงฤดูฝน ในระยะนี้มีการเข้าทำลายและสร้างสารพิษของ A.flavus น้อยมาก แต่เมื่อเกษตรนำข้าวโพดที่มีความชื้นสูงเข้าเก็บภายในยุ้งทำให้การเจริญและการสร้างสารพิษของ A flavus เพิ่มขึ้นมากน้อยแตกต่างกันตามสภาพของยุ้ง ระยะเวลาการเก็บรักษา จากนั้นจะขายไปยังพ่อค้าท้องถิ่นโดยจะทำการสีข้าวโพดยุ้งหรือไร่เกษตรกรทั้งที่ข้าวโพดมีความชื้นสูงมากทำให้เมล็ดได้รับความเสียหายได้ง่าย ประกอบกับเป็นช่วงที่มีลมมรสุมพัดผ่านทำให้มีฝนตกชุก การลดความชื้นโดยการตากลานจึงทำได้ไม่เต็มที่ และปริมาณข้าวโพดที่ออกสู่ตลาดมีมากเกินกว่าจะทำให้แห้งได้ทัน ทำให้ต้องการเก็บตุนไว้ในโกดัง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเก็บผลผลิตเป็นจำนวนมากตลอดปี ทำให้การดูแลรักษาความสะอาดไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้การเจริญและการสร้างสารพิษของ A.flavus เกิดขึ้นอย่างมากในขั้นตอนนี้ ส่วนในระดับไซโลพบว่ามีการเจริญของเชื้อสาเหตุและการปนเปื้อนของแอฟลาทอกซินในระดับต่ำสูงมาก เนื่องจากได้รับเชื้อให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยก็ไม่สามารถทำให้สารพิษแอฟลาทอกซิลลดต่ำลงได้ การแก้ปัญหาควรจะดำเนินการแก้ไขตั้งแต่ขั้นแรกของระบบการค้าข้าวโพด และเน้นหนักในขั้นที่เป็นสาเหตุอย่างมากของการเกิดสารพิษแอฟลาทอกซิลนี้