บทคัดย่องานวิจัย

คุณภาพทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์ในเขตศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี (ระยะที่ 1)

เครือวัลย์ อัตตะวิริยะกุข สุนันทา หมื่นพล รุจี กุลประสูติ และ ศรีศักดิ์ ธานี

รายงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2534

บทคัดย่อ

คุณภาพทางกายของเมล็ดพันธุืข้าวที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์ในเขตศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

งานวิเคราะห์ประเมินรูปพรรณและคุณภาพเมล็ดทางกายภาพของข้าวจากการรวบรวมศึกษาลักษณะจัดหมวดหมู่ และเก็บรักษา สำหรับปี 2534 เป็นข้าวไร่จากสถานีทดลองข้าวราชบุรีฤดูปลูก 2533/34 ข้าวเจ้า 46 ตัวอย่าง ข้าวเหนียว 19 ตัวอย่าง และข้าวไร่จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ฤดูปลูก 2531/2532 ข้าวเจ้า 83 ตัวอย่าง ข้าวเหนียว 13 ตัวอย่าง และการวิเคราะห์ประเมินได้ว่า ตัวอย่างข้าวไร่จากสถานีทดลองข้าวราชบุรี ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนืองมีกลีบรองดอกสั้น และสีฟางทั้งหมด เปลือกเมล็ดมี 2 สี คือ ฟางและน้ำตาล 91 ของข้าวเจ้าและ 58 ของข้าวเหนียว เปลือกสีฟางประมาณ 75 ของประชากรข้าวเจ้ามีเมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. และรูปร่างเรียว ในขณะที่ข้าวเหนียวมีเมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. เพียง 63 และมีรูปร่างเรียวเพียง 32 ตัวอย่างข้าวเจ้าเป็นท้องไข่น้อยและมาก-รุนแรงเท่า ๆ กัน คือ ชนิดละ 45 ข้าวเหนียวส่วนใหญ่ยังมีข้าวเจ้าบนตั้งแต่เล็กน้อยถึง 5 ตัวอย่างข้าวไร่จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวก็มีกลีบรองดอกสั้นทั้งหมดเช่นกัน และประมาณ 88 มีสีฟางที่เหลือสีดำ เปลือกเมล็ดก็พบ 2 สีเช่นเดียวกับราชบุรี โดย 70 ของข้าวเจ้า และ 60 ของข้าวเหนียว เปลือกสีฟางมากกว่า 90 ของตัวอย่างข้างทั้ง 2 ชนิด เมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. แต่ส่วนใหญ่ของข้าวเจ้า (90) รูปร่างเมล็ดเรียว ในขณะที่ข้าวเหนียวมีเมล็ดเรียวและค่อนข้างป้อมครึ่งต่อครึ่ง 50 ของข้าวเจ้าเป็นท้องไข่น้อย มีเป็นปานกลางและมากต่าง ๆ กัน คือ อย่างละประมาณ 15 ที่เหลือเป็นรุนแรงประมาณ 75 ของประชากร ข้าวเหนียวมีข้าวเจ้าปนตั้งแต่เล็กน้อยถึง 5