บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาวัสดุและช่วงเวลาการห่อที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายจากแมลงเจาะผลส้มโอ

สุธน สุวรรณบุตร วีระศักดิ์ อุ่นจิตต์ พินิจ เขียวพุ่มพวง วีรวิทย์ วิทยารักษ์ ปัญญา ธยามานนท์ และ ชำนาญ ทองกลัด

รายงานประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พิจิตร.

2534

บทคัดย่อ

การศึกษาวัสดุและช่วงเวลาการห่อที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายจากแมลงเจาะผลส้มโอ

แมลงวันทองเป็นศัตรูที่สำคัญของส้มโอท่าข่อย ที่ปลูกในเขตเมืองเก่า จังหวัดพิจิตร

แมลงวันทองสามารถเข้าทำลายผลส้มโอด้วยการวางไข่ลงในผิวผล หนอนที่ฟักออกมาจะกัด

กินภายในผลส้มโอ ก่อให้เกิดอาการเหลืองทั้งผลและมียางไหลเป็นทางยาวอย่างเด่นชัด การ

ป้องกันกำจัดด้วยกับดักเฟอร์โรโมน ไม่ให้ผลอย่างเด่นชัด เกษตรกรจึงเลิกใช้วิธีดังกล่าว การ

ห่อผลเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทองด้วยถุงพลาสติกที่เกษตรกรทำอยู่ ยังมีข้อ

บกพร่องเกี่ยวกับแผลตำหนิอย่างรุนแรงบนผิวผล โดยเฉพาะโรคแคงเคอร์นอกจากนี้ยังมีศัตรู

ประเภทปากดูดอีกด้วย ดังนั้นจึงได้ทำการทดลองนี้โดยใช้สวนเกษตรกรที่ประสบปัญหาเป็น

แหล่งทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Split plot design จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยหลัก (main

plot) ได้แก่อายุการเริ่มห่อผลประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ดังนี้ ห่อผลส้มโอเมื่อผลมีอายุได้ 2.5

เดือน 3.5 เดือน และ 5 เดือน ปัจจัยรอง (sub plot) ได้แก่ ชนิดของวัสดุห่อผล ประกอบด้วย

5 กรรมวิธีดังนี้ ถุงกระดาษปูนซีเมนต์ ถุงพลาสติกสีฟ้า ถุงตาข่ายไนล่อน (ความถี่ 1 ตร.มม.)

ถุงผ้าขาวบาง และไม่ห่อผล(control) ผลการทดลองสรุปว่าการห่อผลนานเกินไปตั้งแต่ 2.5

เดือน จนถึงเก็บเกี่ยวไม่ส่งผลดี มักทำให้เกิดผลร่วงมากเนื่องจาศัตรูประเภทปากดูดหลายชนิด

เข้าไปอาศัยอยู่บนผิงผลภายในถุงเป็นเวลานาน ตลอดจนปัญหาโรคราดำและแผลสะเก็ด การ

ห่อผลเมื่ออายุได้ 3.5 เดือน หรือประมาณกลางถึงปลายเดือนเมษายน ของส้มโอที่ออกผลชุด

แรกเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด สำหรับวัสดุห่อที่แนะนำและมีประสิทธิภาพสูงได้แก่ถุงตาข่าย

ไนล่อนสีฟ้า และควรมัดปากถุงสูงจากขั้วผลประมาณ 7-10 ซม. ในกรณีที่หลังห่อผลเกิด

ปัญหาไรและเพลี้ยไฟระบาดรุนแรง ก็สามารถพ่นสารฆ่าได้ตามความจำเป็น เนื่องจากละออง

สารเคมีที่พ่นสามารถผ่านถุงตาข่ายได้ส่วนส้มโอชุดที่ 2 ซึ่งออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคม

ไม่จำเป็นต้องห่อผลเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทอง