การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดเพื่อคัดเลือกข้าวพันธุ์ดีภาคกลาง (ระยะที่ 1)
เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข รุจี กุลประสูติ สุนันทา หมื่นพล และศรีศักดิ์ ธานี
รายงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2534
บทคัดย่อ
เนื่องจากในปีเพาะปลูก 2533/2534 โดยเฉพาะฤดูนาปีมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมะานี และสถานีทดลองข้าวคลองหลวง ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวทดลองจาก 2 แหล่งนี้จึงแทบจะไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวอย่างจาก 3 สถานีทดลองที่เหลือ (สถานีทดลองข้าวบางเขน,สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี และสถานีทดลองข้าวราชบุรี) ได้ส่งมาวิเคราะห๋คุณภาพเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ดีสำหรับส่งเสริมให้ปลูกในภาคกลางอยู่พอประมาณคือ ในฤดูนาปรังเป็นข้าวเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีทดลองจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีแห่งเดียว 8 การทดลอง 188 ตัวอย่าง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นข้าวเมล็ดยาว (>7.0 มม.) เรียว เปลือกสีฟาง และประมาณครึ่งหนึ่งเป็นท้องไข่ในระดับน้อย ส่วนฤดูนาปีมีข้าวส่งวิเคราะห์ ทั้งเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานีและในนาราษฎร์เป็นจำนวน 266,751 และ 60 ตัวอย่างตามลำดับ โดยข้าวเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีประมาณ 90 เปลือกสีฟางและเมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. มีรูปร่างเมล็ดเรียวทั้งหมด และประมาณ 75 เป็นท้องไข่ในระดับเป็นน้อย ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีมากกว่า 90 มีเปลือกสีฟางเมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. และรูปร่างเรียวทั้งหมดประมาณ 80 เป็นท้องไข่น้อยข้าวเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ก็มีเมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. และเมล็ดเรียวทั้งหมดเช่นกันประมาณ 75 เปลือกสีฟาง และประมาณ 60 เป็นท้องไข่ในระดับเป็นน้อย ข้าวสายพันธุ์ (Promising lines) 10 ตัวอย่าง (8+2 CK) ได้รับจากสถานีทดลองข้าวคลองหลวงแห่งเดียว ทุกตัวอย่างมีเปลือกสีฟาง เมล็ดยาวเกิน 7.0 มม. รูปร่างเมล็ดเรียว และคุณภาพการสีดี ข้าวเต็มเมล็ดต้นข้าว >40 มี SPRLR83030-7-3-2-1-2-3 เบอร์เดียวที่เป็นท้องไข่ปานกลาง (1.46) นอกนั้นเป็นน้อย (<1)