บทคัดย่องานวิจัย

การเปรียบเทียบพันธุ์เบญจมาศจากต่างประเทศเพื่อใช้ตัดดอกเป็นการค้า

วิภาดา ทองทักษิณ และ ธนวัฒน์ รัตนถาวร

รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.

2534

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบพันธุ์เบญจมาศจากต่างประเทศเพื่อใช้ตัดดอกเป็นการค้า

ในการผลิตเบญจมาศ นอกจากผลิตให้ได้คุณภาพดีมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องแล้วพันธุ์ใหม่

เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ต้องการมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อเพิ่มความหลากหลายและการใช้

ประโยชน์ของดอกเบญจมาศให้สามารถแข่งขันกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ ได้  ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

ได้นำพันธุ์เบญจมาศจากต่างประเทศมาเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นในปี 2530 โดยแบ่งการทดลอง

ออกเป็น 2 พวก คือประเภทดอกเดี่ยวจำตวน 37 พันธุ์ และดอกช่อ จำนวน 13 พันธุ์ ผลการทดลอง

ได้คัดเลือกพันธุ์ที่เข้าหลักเกณฑ์การคัดเลือกขึ้นต้นซึ่งได้กำหนดไว้ แยกเป็นดอกเดี่ยว 12 พันธุ์ และ

ดอกช่อ 5 พันธุ์ จากนั้นได้นำพันธุ์ที่คัดเลือกไว้มาปลูกเปรียบเทียบอีกครั้งร่วมกับพันธุ์ที่นำเข้ามาใหม่

ในปี 2531-2532 แบ่งการทดลองออกเป็นประเภทดอกเดี่ยว 16 พันธุ์ และดอกช่อ 17 พันธุ์

ดำเนินการทดลอง 2 ซ้ำ 2 ปี (2531 และ 2533) วางแผนการทดลองแบบ RCB ผลการทดลอง

ได้คัดเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรง ทนทานต่อโรค ขยายพันธุ์ง่าย ทรงดอกสวยงาม

ก้านดอกยาวแข็งแรง ไม่ไวต่ออุณหภูมิต่ำ อายุตัดดอกปานกลาง มีปัญหาในด้านการผลิตน้อย

เหมาะสำหรับใชัตัดดอกเป็นการค้าได้ดังนี้ ดอกเดี่ยว 9 พันธุ์    ได้แก่ J25,TW1,TW8, 

Shamrock,Dusky Queen,Taiho taisetsu,Spring Song,Californian Wonder

และ Royal Flush ดอกช่อ 12 พันธุ์ ได้แก่      Pink Westlan, S2, Greta Verhagen,

Ryroon, Refour, No Name, Harlekijn,Mimi,Tree lane,Main lane, TW10

และ Day Mark ซึ่งจะได้นำพันธุ์คัดเลือกทั้งหมดไปทดสอบคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว

ความทนทานต่อการบรรจุหีบห่อ การขนส่งทางไกล และทดสอบความนิยมของตลาด เป็นการ

ประเมินคุณลักษณะของพันธุ์คัดเลือกขั้นสุดท้ายก่อนแนะนำพันธุ์