การทดลองความสูญเสียคุณภาพและปริมาณข้าวในกิจกรรมการตากมัดฟ่อนและขนย้าย
กิติยา กิจควรดี ไพฑูรย์ อุไรรงค์ มิตตรา แสนวงศ์ จันทนา สรสิริ กัมปนาท มุขดี ถนัด ศุขปราการ นิพนธ์ มาฆทาน ชิน พิมเสน ประสูติ สิทธิสรวง และ ปราโมทย์ อนุกูล
รายงานวิจัยประจำปี 2534 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2534
บทคัดย่อ
การลดความสูญเสียคุณภาพและปริมาณของข้าวในกิจกรรมการตาก มัดฟ่อน และขนย้ายในฤดูนาปี 2533 ปรากฏว่า การลดความสูญเสียปริมาณข้าวโดยการที่หลังเก็บเกี่ยวข้าวไม่ตากข้าวในนา แต่ขนไปทำการนวด และตากแดดลดความชื้นเมล็ดภายหลัง สามารถลดความสูญเสียปริมาณข้าวได้ 0.5 โดยน้ำหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการตากข้าวในนา 3 วัน แล้วจึงขนไปนวด การศึกษาวิธีการตากที่เหมาะสมในการลดความสูญเสียข้าวทั้งด้านคุณภาพและปริมาณในกิจกรรมการตาก มัดฟ่อน และขนย้าย ข้าวจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงไม่ได้ทดลองเก็บรักษา ผลการทดลองสรุปได้ว่า การนวดข้าวโดยไม่ตากข้าวในนา ตากแดดลดความชื้นเมล็ดความหนาของกองข้าว 10 ซม. พลิกกลับข้าววันละ 4ครั้ง กข 23 มีเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงกว่าการตากวิธีอื่น ๆ อย่างมีความแตกต่างในทางสถิตการทดลองที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง สรุปได้ว่าการนวดข้าวในวันเก็บเกี่ยวจากแดดลดความชื้น ความหนาของกองข้าว 10 ซม.พลิกกลับข้าววันละ 4 ครั้ง เมื่อนำข้าวไปสีได้ข้าวเต็มเมล็ด และต้นข้าวสูงสุด 62.93 การจากข้าวสุ่มซังในนา 3 วัน ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 61.75 และการนวดข้าวในวันเก็บเกี่ยว จากข้าวหนา 5 ซม.ไม่พลิกกลับข้าวได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวต่ำสุด 57.49 การทดลองที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี พบว่าการนวดข้าวในวันเก็บเกี่ยว ตากแดดลดความชื้น ความหนาของกองข้าว 10 ซม. พลิกกลับข้าววันละ 4 ครั้ง ข้าวมีเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงสุด 51.47 และการนวดข้าวในวันเก็บเกี่ยวตากแดดลดความชื้น ความหนากองข้าว 5 ซม. ไม่พลิกกลับข้าว ข้าวมีเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวต่ำสุด 48.40 และไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการตากข้าวสุ่มซังในนา 3 วัน ซึ่งได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 49.10 ผลการทดลองด้านความงอกของเมล็ดพันธุ์ พบว่าเมล็ดพันธุ์จากการตากในทุกกรรมวิธีเมื่อเก็บรักษานาน 12 เดือน เมล็ดพันธุ์ยังคงมีความงอกสูงกว่า 80