บทคัดย่องานวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพการสีของข้าวนาน้ำฝน (ระยะที่ 2)

สุภาณี จงดี มงคล มั่นเหมาะ และ ราตรี บุญญา

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2534

บทคัดย่อ

การตรวจสอบคุณภาพการสีของข้าวนาน้ำฝน

ตัวอย่างข้าวที่นำมาวิเคราะห์คุณภาพการสีได้จากแปลงการทดสอบพันธุ์ข้าวและเทคโนโลยีการทำนาน้ำฝน โครงการพัฒนาข้าวในเขตเกษตรกรล้าหลัง ปี 2534 ดำเนินการในหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จ.เชียงราย จ.ลำปาง จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน จ.แพร่ ตัวอย่างข้าวที่นำมาวิเคราะห์คุณภาพการสี สุ่มมาจำนวน 13 แปลง ซึ่งใช้พันธุ์ทดสอบ จำนวน 5 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ ดอแพร่ ขี้ตมแดง SPT7201-PRE-26-2-GM-7 กข6 และพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกในท้องที่ ผลการวิเคราะห์พบว่า คุณภาพการสีข้าวทุกพันธุ์อยู่ในระดับดี-ดีมาก ซึ่งพิจารณาจากจำนวนเปอร์เซ็นต์ข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าว ( ข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าว 40-50 หมายถึง คุณภาพการสีดี ถ้ามากกว่า 50  หมายถึง ดีมาก) พันธุ์ขี้ตมแดง มีคุณภาพการสีดีที่สุด โดยให้ปริมาณข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าว 61.46