การใช้สารเคมี SO2 เพื่อป้องกันเชื้อราระหว่างการเก็บรักษาข้าวโพดฝักอ่อน
ยงยุทธ คงซ่าน ไมตรี แนวพนิช ศรีวัย สิงหะคเชนทร์ วิบูลย์ เทเพนทร์ และ สิริชัย ส่งเสริมพงษ์
รายงานการวิจัย กองเกษตรวิศวกรรม กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
2534
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ก. จากการทดสอบการรมควัน SO2 ในยุ้งข้าวโพดทดสอบปรากฏว่า ความเข้มข้นที่ 0.5 ของน้ำหนักข้าวโพด และระยะรมควัน SO2 8-10 ชม. สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของราได้โดยเด็ดขาด ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้จะทำให้เมล็ดข้าวโพดมีกลิ่น SO2 ติดอยู่และมีรอยไหม้เกรียม การใช้ความเข้มข้นที่ต่ำกว่านี้มีความเป็นไปได้สูง ในกรณีที่ข้าวโพดมีความชื้นเริ่มต้นต่ำกว่า 22 การวิเคราะห์ SO2 ตกค้างในเมล็ดข้าวโพดหลังการเก็บรักษาไว้ 2 เดือน ปรากฏว่ามีระดับ SO2 ตกค้างต่ำกว่าระดับที่ระบุสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารโดยองค์การอนามัยโลก ข. ได้ออกแบบเตาเผากำมะถัน ซึ่งสามารถเผาไหม้ได้ในอัตรา 500 กรัม/ชม. เหมาะสมกับการใช้รมควัน SO2 ในยุ้งเกษตรกร ซึ่งมีความจุเฉลี่ย 10 ตันต่อยุ้ง ค. ได้ทดสอบรมควัน SO2 กับยุ้งเก็บข้าวโพดของเกษตรกร ณ อ.หนองไผ่ และ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 4 ยุ้ง โดยใช้อัตราความเข้มข้น 0.1 ใช้ระยะเวลารมควัน SO2 8 วม. เนื่องจากข้าวโพดฤดูที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ผลนัก เนื่องจากเกษตรกรมีความจำเป็นเรื่องเงินจึงต้องรีบขายข้าวโพดที่เก็บไว้ภายในระยะเวลา 1 เดือน สรุปผลการทดลอง (สรุปเฉพาะส่วนที่ทำเสร็จแล้ว) การใช้ควัน SO2 รมในยุ้งข้าวโพดที่ระดับ 0.5 ในระยะเวลา 8-10 ชม. ควบคุมการเจริญเติบโตของราได้โดยเด็ดขาด ทำให้ข้าวโพดที่เก็บรักษาไว้มีคุณภาพดี ปัญหาและอุปสรรค 1. การรมควัน SO2 ข้าวโพดจะมีกลุ่มควันรมผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เหมาะสมที่จะใช้ในไร่ระหว่างที่เกษตรกรหักข้าวโพดใหม่ ๆ แล้วเก็บไว้ในไร่ชั่วคราว 2. เกษตรกรผู้ให้ความร่วมมือบางครั้งมีความจำเป็นเรื่องเงิน จำเป็นต้องรีบขายข้าวโพดที่กำลังทดลองไปก่อนกำหนด จึงไม่ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากนัก 3. การรมควัน SO2 ในยุ้งใหญ่มีปัญหาการกระจายของควัน SO2 ไม่ทั่วทั้งยุ้ง การควบคุมการเจริญเติบโตของราจึงไม่ทั่วทั้งยุ้ง แนวทางแก้ไข สร้างยุ้งข้าวโพดตัวอย่างขนาดเท่ายุ้งของเกษตรกรไว้ที่กลุ่มเกษตรกร แล้วทำการสาธิตก