บทคัดย่องานวิจัย

ผลของอายุเก็บเกี่ยวและการลอกปอกลีบต่อคุณภาพเส้นใยหลังการแช่ฟอก

นิลุบล ทวีกุล วีรชาติ แสงสิทธิ์ อมรา บัณฑิตวงษ์ และ สมศักดิ์ ชูพันธุ์

รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น

2535

บทคัดย่อ

ผลของอายุเก็บเกี่ยวและการลอกปอกลีบต่อคุณภาพเส้นใย หลังการแช่ฟอก

ปอแก้วพันธุ์โนนสูง 2 ให้ผลผลิตเส้นใยสูงสุดเมื่อออกดอก 50 แต่ด้านความเหนียวของเส้นใยยังไม่มีข้อมูล และปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องลอกปอกลีบมาใช้เพื่อประหยัด เวลาและแรงงาน จึงทำการศึกาาอายุเก็บเกี่ยวและวิธีการแช่ฟอกที่จะให้เส้นใยที่มีความเหนียวและผลผลิตสูง ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2535 ใช้แผนการทดลองแบบ Factorial in RCB มี 4 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 คือ การแช่ฟอกทั้งลำ และการใช้เครื่องลอกปอกลีบ  ปัจจัยที่ 2  คือ วันเก็บเกี่ยว 30 กันยายน, 15 ตุลาคม,  30 ตุลาคม และ 15 พฤศจิกายน  พื้นที่เก็บเกี่ยว 2x6 เมตร พบว่าผลผลิตเส้นใยแห้งสูงสุดจากการเก็บเกี่ยววันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงออกดอก 50 (495 และ 491 กก./ไร่ จากการแช่ทั้งลำและการใช้เครื่องลอกตามลำดับ) การแช่ทั้งลำให้ผลผลิตเส้นใยแห้งสูงกว่าการใช้เครื่อง (เฉลี่ย 16 กก./ไร่) ส่วนในด้านความเหนียว การเก็บเกี่ยววันที่ 15 และ 30 ตุลาคม ที่แช่ทั้งลำ ให้ความเหนียวสูงสุด 22.9 และ 23.4 กรัม/เท็กซ์ แตกต่างทางสถิติกับการเก็บเกี่ยวก่อนหรือหลังจากนี้ ส่วนการใช้เครื่องลอกให้ความเหนียวสูงสุดในช่วงเดียวกัน คือ 15.7 และ 16.2 กรัม/เท็กซ์ แต่แตกต่างทางสถิติกับการแช่ทั้งลำที่เก็บเกี่ยวพร้อมกัน และไม่แตกต่างกับการแช่ทั้งลำที่เก็บเกี่ยว 15 พฤศจิกายน (18.5 กรัม/เท็กซ์) การลอกด้วยเครื่องหากเก็บเกี่ยวเมื่อ 30 กันยายน หรือ 15 พฤศจิกายน ความเหนียวเส้นใยจะต่ำสุด (15.1 และ 14.7 กรัม/เท็กซ์ ตามลำดับ)