ชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในลางสาดในแหล่งปลูกเขตรับผิดชอบภาคเหนือตอนบน
ไพบูลย์ บุญชัย มนัส ศรีฉ่ำ กำพล ละม่อมอารีย์กุล และ ชอุ่ม ออไรศูรย์
รายงานการวิจัย กลุ่มงานสารพิษตกค้างและพิษวิทยา กองวัตถุมีพิษการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
2535
บทคัดย่อ
ลางสาดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ในแต่ละปีทำรายได้ให้แก่จังหวัดปีละหลายล้านบาท ในการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลิตผลมักมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย เช่น หนอนเจาะเปลือก แมลงวันผลไม้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้องใช้วัตถุมีพิษในการป้องและกำจัด เพื่อปรับปรุงคุณภาพและวิธีการผลิต ก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างตามมาจึงจำเป็นต้องศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในลางสาด ศูนย์วิจัยวัตถุมีพิษเขต 2 ได้ทำการออกสุ่มตัวอย่างลางสาดในเขตรับผิดชอบ คือ อ.ลับแล อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยแยกตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้าง 2 จำพวก คือ Organophosphate,Chlorinated Hydrocabon โดยวิธีเคมีและใช้เครื่องมือ GLC (Gas Liquid Chlomatograph) ชนิด FPD จำนวน 75 ตัวอย่าง ชนิด ECD 75 ตัวอย่าง รวม 150 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบสารพิษตกค้างในผลิตผลของลางสาดในทุกตัวอย่าง