คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพและคุณภาพการสีของข้าวญี่ปุ่นเมื่อปลูกในระยะเวลาต่างกัน (ระยะที่ 1)
สุพัตรา สุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ สุมาลี สุทธายศ จิตกร นวลแก้ว และ อานันต์ ผลวัฒนะ
รายงานผลการวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2535
บทคัดย่อ
ปลูกข้าวญี่ปุ่นร่วมกับทะเบียนวิจัยเรื่อง อิทธิพลของวันปลูกต่อความมีชีวิต ความแข็งแรง และอายุการเก็บรักษาของข้าวญี่ปุ่นโดยใช้พันธุ์ข้าวญี่ปุ่น 2 พันธุ์คือ Akitako mashi และ Koshihikari 6 ระยะเวลา คือ ต้นพฟศจิกายน,กลางพฤศจิกายน,ต้นธันวาคม,กลางธันวาคม 2534,ต้นมกราคม และกลางมกราคม 2535 ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนำมาวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ พบว่า ทั้ง 2 พันธุ์ ขนาดรูปร่างเมล็ด และท้องไข่ไม่มีความแตกต่างแต่คุณภาพการสีของข้าว Akitako mashi มีความแตกต่างกัน คือข้าวที่ปลูกต้นพฤศจิกายน ตันมกราคม และกลางมกราคม คุณภาพการสีอยู่ในระดับดีมาก ได้เปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวน้อยกว่า 30 ส่วนคุณภาพการสีของข้าว Koshihikari ข้าวที่ปลูกต้นมกราคมและกลางมกราคม อยู่ในเกณฑ์ ได้เปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวน้อยกว่า 30