การศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวของผลโกโก้ที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงในระหว่างขบวนการหมัก
ผานิต งานกรณาธิการ อานุภาพ ธีระกุล ปิยนุช นาคะ และ ทวีศักดิ์ แสงอุดม
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ชุมพร.
2535
บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวของผลโกโก้ซึ่งมีผลต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงในระหว่างขบวนการ
หมักเพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้แห้งที่มีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาดต่อไป โดยดำเนินการทดลอง
ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ระยะเวลา 2 ปี ผลการทดลอง ได้ทำการคัดเลือกดอกโกโก้ที่ได้รับการผสมติด
ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน และทำการติดป้ายดอกที่ผสมติดนั้นทำการเก็บเกี่ยว เมื่อผลโกโก้มีอายุ 120,
135, 150, 165 และ 180 วัน วัดการเจริญเติบโตของผลโกโก้ตลอดเวลาก่อนการเก็บเกี่ยว แล้วนำผล
โกโก้ที่เก็บเกี่ยวในแต่ละครั้งไปทำการหมักแล้วทำให้แห้ง พบว่าการเจริญเติบโตของผลโกโก้จะเจริญ
เติบโตช้าในช่วงแรกหลังจากนั้นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านความยาว จนถึง 84 วัน
แล้วการเจริญเติบโตจะคงที่ และมีแนวโน้มลดลง เฉพาะช่วงฤดูฝน จนถึง 84 วัน แล้วการเจริญเติบโต
จะคงที่ และมีแนวโน้มลดลง เฉพาะช่วงฤดูฝน ส่วนในด้านความกว้างการเจริญเติบโตจะเพิ่มจนถึง
90 วันอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นจะคงที่ โดยจะไปเจริญเติบโตภายในเมล็ดมากขึ้น ในขณะที่เมล็ดภายใน
เจริญนั้น ปริมาณไขมันจะเพิ่มขึ้นด้วยความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยของช่วงฝนและแล้งใกล้เคียงกัน
จะแตกต่างกันที่ปริมาณน้ำฝนโดยช่วงฝนมีค่าปริมาณน้ำฝน 5.59 มม. และช่วงแล้งมีค่าปริมาณน้ำฝน
3.52 มม. มีผลทำให้ขนาดของเมล็ดสด/แห้ง ของเมล็ดโกโก้ทุกอายุการเก็บเกี่ยวไม่แตกต่างกันมากนัก
โดย เมล็ดสดของช่วงแล้ง และฝนจะใกล้เคียงกันโดยจะมี เมล็ดสดลดลง เมื่ออายุการเก็บเกี่ยวมากขึ้น
เนื่องจากความชื้นลดลง ทำให้น้ำหนักเมล็ดสดลดลง เมล็ดแห้งเพิ่มขึ้น เมื่ออายุการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น
โดยที่อายุการเก็บเกี่ยว 150, 165 และ 180 วัน จะค่อนข้างคงที่และใกล้เคียงกัน จำนวนเมล็ดต่อผล
ของทั้งช่วงฝนและแล้งจะมีค่าใกล้เคียงกัน คืออยู่ในช่วง 34.9-40.8 ในช่วงฝน และ 34.5-39.9 เมล็ด
ต่อผลในช่วงแล้งตามลำดับ โดยสีของผลที่อายุการเก็บเกี่ยว 120 และ 135 วัน จะให้สีของผลใกล้เคียงกัน