การศึกษาการสูญเสียด้านคุณภาพและปริมาณในขณะเก็บรักษาของข้าวนึ่งและข้าวธรรมดาในสภาพการสีปกติและขัดเงา (ระยะที่ 2)
ไพฑูรย์ อุไรรงค์ เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข ยุวดา เกิดโกมุติ สุนันทา หมื่นพล ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต กิติยา กิจควรดี ศรีศักดิ์ ธานี และ กัมปนาท มุขดี
รายงานวิจัยประจำปี 2535 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2535
บทคัดย่อ
เริ่มต้นทดลองใช้พันธุ์ข้าว สพ 90 ฤดูนาปี 2534 จากศูนย์/สถานี 5 แห่ง วางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCB มี 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 เป็นชนิดของข้าว (ข้าวนึ่ง-ข้าวธรรมดา) ปัจจัยที่ 2 เป็นวิธีการขัด (สีปกติ-ขัดเงา) ทำ 5 ซ้ำ มี 4 กรรมวิธี คือ ข้าวนึ่ง-สีปกติ ข้าวนึ่ง-ขัดเงา ข้าวธรรมดา-สีปกติ ข้าวธรรมดา-ขัดเงา เริ่มต้นการทดลองโดยแบ่งตัวอย่างข้าวเปลือกจากแต่ละศูนย์/สถานี ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 นำไปกระเทาะเปลือกสีเป็นข้าวธรรมดา เสร็จแล้วแบ่งข้าวที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน นำส่วนที่ 1 ไปขัดเงาด้วยเคื่องขัดมันโดยใช้ไอน้ำ ยีห้อ Solar ของบริษัทไรซ์เอนจิเนียร์ สำหรับข้าวเปลือกส่วนที่ 2 นำไปทำข้าวนึ่งตามขบวนการการทำข้าวนึ่ง ตากให้แห้งเสร็จแล้วนำไปกรเทาะเปลือกออกสีเป็นข้าวสารนึ่งแบ่งข้าวสารนึ่งที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน นำส่วนหนึ่งไปขัดเงาด้วยเคื่องขัดมันเสร็จแล้วนำข้าวทั้งหมดบรรจุใส่กระสอบปานขนาดบรรจุ 17 กิโลกรัม นำไปเก็บไวในโรงเก็บเมล็ดสภาพปกติเป็นเวลา 1 ปี แต่ละเดือนสุ่มตัวอย่างข้าวทดลองไปตรวจวิเคราะห์ ความชื้นของเมล็ด ความขาว ความแร่ง น้ำหนัก/ปริมาตร และความเสียหายจากการทำลายของแมลง ขณะนี้กำลัอยู่ในระหว่างทดลองเก็บรักษาในโรงเก็บเดือนที่ 10 (พฤษภาคม 2535)