บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางกายภาพของข้าวบาสมาติ จากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว (ระยะที่ 2)

เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข รุจี กุลประสูติ อนงค์ พุฒเพ็ง และ สุนันทา หมื่นพล

รายงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2536

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางกายภาพของข้าวบาสมาติ จากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว

ข้าวทดลองจากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์ กระจายพันธุ์ข้าว และธัญพืชเมืองหนาว

สำหรับข้าวบาสมาติปีเพาะปลูก 2535/2536 ที่นำมาวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ด

ทางกายภาพมีทั้งสิ้น 436 ตัวอย่างจาก 3 การทดลองคือ การทดลองเปรียบเทียบผลผลิต

ระหว่างสถานี 24 เบอร์ 9 แหล่งปลูก การทดลองเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร 8

เบอร์ 22 แหล่งปลูกและจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ 4 เบอร์ 11 แหล่งปลูก ในความรับผิดชอบ

ของศูนย์วิจัยข้าว 4 แห่ง (PTT, PSL, PRE และ UBN) และสถานีทดลองข้าว 10 แห่ง

(KLG, SPR, RBR, CNT, KSR, PAN, SPT, SRN, KKN และ SKN) ผลการ

วิเคราะห์สรุปได้ดังนี้  การทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี 24 เบอร์จาก 9 แหล่งปลูก

พบพันธุ์ที่มีขนาดรูปร่างเมล็ดใหม่ไม่เหมือนเมล็ดข้าวบาสมาติถึง 10 พันธุ์ได้แก่ BMT 370A,

BMT377, BMT397, BMT(BSI), BMT113, BMT375, BMTC22, BMT375A,

BMT5875 และ BMT No.2 ตัวอย่างข้าวจากการทดลองนี้ ส่วนใหญ่มีเปลือกสีฟางก้นจุด

และมีหางแปรปรวนจากเล็กน้อยจนถึง 37 เมล็ดข้าวกล้องมีความยาวระหว่าง 6.99-7.69 มม.

แต่ส่วนใหญ่เกิน 7.3 มม.ขึ้นไป รูปร่างเมล็ดเรียวมากมีอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความ

กว้างระหว่าง 3.44-4.03 แต่ส่วนใหญ่ 3.9 ขึ้นไปประมาณ 75 ของข้าวชุดนี้เป็นท้องไข่

ระดับเป็นมากถึงรุนแรง (ค่าท้องไข่ >2 ขึ้นไป) 25 เป็นน้อยถึงปานกลาง (<1-1.5) พันธุ์ที่

เป็นท้องไข่น้อยและเมล็ดเหมือนข้าวบาสมาติด้วยที่น่าสนในได้แก่ BMT5854, PK487,

BKNC86015 (เพชร 15) Kasturi และ BMT6131