บทคัดย่องานวิจัย

อิทธิพลของสารเคมีที่มีต่อการยืดอายุการเก็บรักษาแตงเทศ

วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ วินัย เจริญกูล บุญแถม ถาคำฟู สุรชาติ คูอาริยะกุล ชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ และ อัญชัญ มั่นแก้ว

รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ. 136 หน้า. (2537)

2537

บทคัดย่อ

อิทธิพลของสารเคมีที่มีต่อการยืดอายุการเก็บรักษาแตงเทศ

เก็บแตงเทศพันธุ์เจดดิวความสุก 85-90 นำผลจุ่มในสารเคลือบผิว 2 ชนิด คือ

semperfresh 1 และ sta-fresh 360 อัตราส่วน 1:2 (สาระน้ำ) ที่มีส่วน

ผสมของเบนโนมิล 500 ppm หรือ SOPP 2500 ppm หรือมีการจุ่มผลใน

NaOCl 120 ppm ก่อนเคลือบผิว เปรียบเทียบกับผลที่ไม่เคลือบผิวรวม 7

กรรมวิธี บรรจุผลลงกล่องกระดาษนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 7-10 ํC

ความชื้นสัมพัทธ์ 70 นาน 1-5 สัปดาห์ ตรวจสอบคุณภาพหลังเก็บรักษาทุกสัปดาห์

และนำออกมาวางจำหน่ายที่อุณหภูมิห้อง 3-7 วัน จนผลเริ่มสุก ทำการตรวจสอบ

คุณภาพอีกครั้ง พบว่าแตงเทศทุกกรรมวิธีสามารถเก็บรักษาได้นาน 3 สัปดาห์

ในสภาพอุณหภูมิต่ำ ซึ่งยังคงลักษณะและอาการปกติ เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก

ความแน่นเนื้อ และTSS ของทุกกรรมวิธีที่เปรียบเทียบในอายุเก็บรักษาเดียวกันไม่มี

ความแตกต่างกันทางสถิติ ถ้าเก็บผลนาน 4 สัปดาห์ จะพบก้านผลแห้งและในสัปดาห์

ที่ 5 จะพบโรคบนผิวเปลือกยกเว้นผลที่เคลือบด้วย semperfresh ร่วมกับ NaOCl

และเบนโนมิล แต่หลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำแล้วนำออกมาวางจำหน่ายที่อุณภูมิห้อง

การเคลือบผิวด้วย semperfresh 1 ที่ผสมด้วยเบนโนมิล หรือ SOPP หรือแช่

NaOCl ก่อนเคลือบผิวอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ผลมีคุณภาพดี เนื้อยังคงมีสีเขียว

และกรอบ แต่ไม่ควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำนานกว่า 2 สัปดาห์ เพราะเมื่อวางจำหน่ายที่

อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน พบว่าเนื้อมีกลิ่นและรสชาติผิดปกติ การไม่เคลือบผิว

และการเคลือบผิวด้วย sta-fresh ให้คุณภาพผลใกล้เคียงกันเมื่อวางจำหน่าย 7 วัน

หลังจากเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำนาน 1 สัปดาห์ คือ ผลเริ่มสุก เนื้อมีสีส้ม-เหลือง เนื้อนิ่ม

โดยการชิม แต่ผลที่เคลือบด้วย sta-fresh จะมีกลิ่นและรสชาติผิดปกติ เมื่อวาง

จำหน่ายที่อุณหภูมิห้องนาน 3 วัน หลังจากเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำนาน 3-4 สัปดาห์