ศึกษาอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของเผือกหอม (พันธุ์เชียงใหม่)
ดวงพร อมัติรัตนะ นรินทร์ พูลเพิ่ม และ ชำนาญ ทองกลัด
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พิจิตร. 2534. 439 หน้า
2534
บทคัดย่อ
ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ดำเนินการทดลองตามรายละเอียดข้างต้น โดยทำการชำกล้าเผือก
ในระหว่างเดือนกันยายน 2535 และทำการปลูกประมาณ ปลายเดือนหลังจากชำกล้าเผือก 20 วัน เก็บ
เกี่ยวเผือกเมื่ออายุ 5.5 เดือน เมื่อมีนาคา 2536 และทุก ๆ 1/2 เดือน โดยเก็บได้เพียงอายุ 6.5 เดือน
เนื่องจากเผือกที่อายุมากกว่านี้จะยุบตัวหมด สาเหตุจากสภาพการปลูกไม่ได้แช่อยู่ในน้ำ ได้ไปศึกษา
เปรียบเทียบการปลูกเผือกในน้ำ ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ถึงอายุ 7 เดือน โดยนำผลผลิตที่ช่วงเดือนต่าง ๆ
มาทำการศึกษาเปรียบเทียบ สรุปผลการทดลอง เผือกที่เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 5.5 เดือน ยังเจริญเติบโต
ไม่เต็มที่ แต่ก็สามารถบริโภคได้แล้ว เผือกที่เก็บเกี่ยวอายุ 7 และ 7.5 เดือน ใบเหี่ยวแห้ง และยุบตัวลง
หมด ซึ่งมีผลทำให้หัวเผือกเริ่มเน่าเสียด้วย เก็บผลผลิตไม่ได้ การปลูกเผือกในสภาพที่ราบและไม่มีน้ำ
ขังจึงสมควรจะเก็บเกี่ยวเผือกเมื่ออายุ 6.5 เดือน ข้อดีของการปลูกเผือกในสภาพที่ราบก็คือ หัวจะแกร่ง
และเก็บรักษาไว้ได้นาน การยุบตัวหรือเน่าเสียช้า เมื่อเทียบกับเผือกที่ซื้อจากแปลงเกษตรกร ซึ่งปลูกสลับ
กับการทำนา อยู่ในสภาพลุ่มมีน้ำหล่อเลี้ยงลำต้นเพราะเมื่อนำมาเก็บรักษาไว้นาน 1/2 เดือน ก็เน่าเสียหมด
ปัญหาและอุปสรรค การทดลองครั้งนี้ยังให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเผือกมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเกินไป
ทั้งนี้เพียงจากการให้น้ำไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ก็ได้ประโยชน์ในแง่ที่ว่าเผือกมีอายุการจำหน่าย
นานขึ้น การทดลองซ้ำในงานนี้จะต้องใช้เวลาถึง 7-8 เดือน แต่จะให้ผลการทดลองนี้สมบูรณ์ขึ้น
แนวทางแก้ไข ได้นำเผือกของเกษตรกรอายุต่าง ๆ ที่ปลูกในสภาพลุ่มมีน้ำขัง มาวิเคราะห์คุณภาพเปรียบเทียบ
ซึ่งต่างกันมากในแง่ผลผลิต เปอร์เซ็นต์แป้ง อายุการวางจำหน่าย งานที่จะดำเนินการต่อไป คาดว่าจะเก็บ
ข้อมูลเพิ่มเติมโดยปลูกซ้ำในแปลงเล็กลงกว่าเดิม ศึกษาในด้านการเจริญเติบโตให้ละเอียดยิ่งขึ้น