บทคัดย่องานวิจัย

ศึกษาการใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อพัฒนาการแช่ฟอกปอ

ศรีสุดา พิทยรักษ์ แฉล้ม มาศวรรณา มณเทียร โสมภีร์

รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.

2539

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อพัฒนาการแช่ฟอกปอ

ศึกษาแหล่งแช่ฟอก คุณสมบัติทางเคมี ชีววิทยา และกายภาพของแหล่งแช่และน้ำแช่ฟอก

เปรียบเทียบและคัดเลือกแหล่งน้ำที่มีประสิทธิภาพในการแช่ฟอก บ่อแช่ฟอกแบ่งออกได้

เป็น 4 กลุ่ม คือ บ่อแช่ในนา ริมถนน บ่อชุด และแหล่งน้ำสาธารณะ บ่อในนา เป็นการแบ่ง

พื้นที่ในนาบางส่วนที่อยู่ในที่ลุ่มเพื่อแช่ปอ โดยมีความกว้างเท่ากับความสูงของปอ และยาว

ไปตามความยาวของคันนา ส่วนที่เหลือใช้ดำนาตามปกติ ความลึกของน้ำที่ใช้แช่ปอในนา

ประมาณ 10-70 ซม. เนื่องจากเป็นบ่อขนาดเล็กน้ำตื้น จึงทำให้น้ำแช่ปอมี pH ต่ำกว่าปอ

แบบอื่น คือ เฉลี่ย 5.8 บ่อริมถนนเป็นบ่อที่เกิดขึ้นจากการทำถนน น้ำเริ่มขังเมื่อมีฝนตก

ขนาดบ่อจึงขึ้นอยู่กับปริมาณฝนตก บ่อกว้างประมาณ 5-10 เมตร ความยาว 10-1,000 เมตร

ความลึกประมาณ 30-50 ซม. pH น้ำประมาณ 5.9 บ่อขุดเองเป็นบ่อในไร่นากสิกร ซึ่งขุดไว้

เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง มีขนาด 145-2,000 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 70-250 เมตร

pH น้ำแช่ปอประมาณ 6.1 บ่อแช่ตามแหล่งสาธารณะ เช่น ริมเขื่อน อ่างเก็บน้ำ หรือแม่น้ำ

โดยใช้บริเวณฝั่งเป็นที่แช่ ซึ่งน้ำลึกประมาณ 50-200 ซม. มี pH น้ำแช่ปอประมาณ 6.5

กสิกรโดยมากใช้แหล่งแช่ฟอกริมถนนแช่ปอ คุณสมบัติทางเคมีที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนจากการ

ใช้น้ำแช่ปอ คือ pH น้ำจะลดลงจุลินทรีย์ที่ตรวจพบในน้ำแช่ปอส่วนมากเป็นแบคทีเรีย พบ

หนาแน่นในบ่อในนามากกว่าบ่อชนิดอื่น คือ มีประมาณมากกว่า 10 โคโลนี ในน้ำ 1 มิลลิลิตร

มีประมาณ 10 - 10 โคโลนี และในบ่อขุดเอง และบ่อสาธารณะ พบน้อยกว่า 10 โคโลนี

ปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำแช่ปอ และน้ำในบ่อใกล้ เคียงที่ไม่ได้แช่ปอ มีจุลินทรีย์ปริมาณ

ใกล้เคียงกันในบ่อในนาขณะที่ในแหล่งอื่นๆ น้ำแช่ปอมีปริมาณจุลินทรีย์มากกว่าน้ำไม่ได้

แช่ปอ ประสิทธิภาพของน้ำแช่ฟอกปอจากแหล่งต่าง ๆ ต่อการแช่ฟอกปอ ไม่แตกต่าง

จากการใช้น้ำธรรมดาแช่อย่างเด่นชัด สามารถคัดน้ำแช่ปอได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถ

แช่ปอได้เร็วกว่าแหล่งอื่น