วิธีการตากข้าวโคชิ ฮิการิ ที่มีผลต่อความงอกและคุณภาพการสี
กิติยา กิจควรดี ไพฑูรย์ อุไรรงค์ ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต จันทนา สรสิริ กัมปนาท มุขดี นิพนธ์ มาฆทาน ยุวดา เกิดโกมุติ และ เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข
รายงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2536
บทคัดย่อ
ศึกษาวิธีการตากข้าวโคชิฮิการิภายหลังจากการนวด เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวที่
เสื่อมความงอกช้า และเมล็ดมีคุณภาพการสีดี ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตม เก็บเกี่ยวและ
นวดในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2537 ความชื้นเมล็ดขณะเก็บเกี่ยว 25 ทำการทดลองตากข้าว
กรรมวิธีต่างๆ เพื่อลดความชื้นเมล็ดเหลือ 13-14 วางแผนการทดลองแบบ 3x2
Factorial in RCB จำนวน 4 ซ้ำ มีการตากข้าวบนลานคอนกรีต ขนาดของกองข้าว 1x1 เมตร
รวม 6 กรรมวิธี ความหนาของกองข้าว 2, 5 และ 10 เซนติเมตร เกลี่ยข้าววันละ 2 และ
4 ครั้งหลังจากนั้นบรรจุข้าวในถุงผ้าดิบ เก็บรักษาที่สภาพอุณหภูมิห้อง วิเคราะห์ความชื้น
และความงอกของเมล็ดทุกเดือน นาน 12 เดือน และวิเคราะห์คุณภาพการสีภายหลังการ
เก็บรักษาข้าวไว้ 3 เดือน การทดลองกำลังดำเนินการอยู่หลังจากทดลองเก็บรักษาได้ 4 เดือน
พอสรุปได้ว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวโคชิฮิการิ จากทุกกรรมวิธียังคงมีความงอกสูงกว่า 80 และ
คุณภาพการสีของข้าวซึ่งยังไม่ได้วิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการตากข้าวโคชิฮิการิความหนา
5 เซนติเมตร เกลี่ยข้าววันละ 2 และ 4 ครั้ง ข้าวมีคุณภาพการสีดีที่สุด รองลงมาคือการตาก
ข้าวความหนา 10 เซนติเมตร เกลี่ยข้าววันละ 2 และ 4 ครั้ง และการตากข้าวความหนา
2 เซนติเมตร เกลี่ยข้าววันละ 2 และ 4 ครั้ง เรียงตามลำดับ และปรากฏว่าการเกลี่ยข้าววันละ
2 ครั้ง และ 4 ครั้งที่แต่ละความหนาของกองข้าวนั้นข้าวมีคุณภาพการสีใกล้เคียงกัน ส่วน
ความชื้นเมล็ดที่เก็บรักษาเปลี่ยนแแปลงเล็กน้อยตามสภาพอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของ
อากาศในแต่ละเดือน