ผลของอายุการเก็บเกี่ยวและอุณหภูมิที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย
ปิยนุช นาคะ สุภาพร โค้วนฤมิตร สมบัติ ตงเต๊า สณทรรศน์ นันทะไชย สมเกียวติ นวลละออง ศศิธร วสุนันต์ และ อานุภาพ ธีระกุล
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ชุมพร. 142 หน้า.
2537
บทคัดย่อ
ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียแบบแถวคู่ ที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นแปลงผลิตวัตถุดิบ
โดยใช้ระยะปลูกและวิธีปฏิบัติที่แนะนำโดยทั่วไป ทำการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่ความสุก 3 ระยะ คือ
ระยะที่ตาเริ่มเปิด, ระยะที่ผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และ 10-30 เปอร์เซ็นต์
ในวันเดียวกัน รวบรวมผลสับปะรดทั้งหมดขนส่งโดยรถห้องเย็นไปยังห้องปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว
สถาบันวิจัยพืชสวน ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทุกระยะที่เก็บเกี่ยว แล้วนำผลสับปะรดที่เหลือมาทำ
ความสะอาดแล้วเคลือบผิวสับปะรดด้วย Sta fresh 7055 ซึ่งผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ปล่อยให้แห้ง
นำมาบรรจุลงกล่องกระดาษ กล่องละ 4 ผล แบ่งผลแต่ละความสุกออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อแยกเก็บตามอุณหภูมิ
ต่าง ๆ คือ 9, 13 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง จากผลการทดลองพบว่าการเก็บรักษาผลสับปะรดที่
อุณหภูมิห้อง เปอร์เซ็นต์ความสุก จะสามารถเก็บรักษาได้เพียง 1 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ ที่อุณหภูมิ 9 และ
13 องศาเซลเซียส ความสุกระยะที่ 3 จะสามารถเก็บรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนที่เปอร์เซ็นต์ความสุก
ระยะที่ 1 และที่ 2 จะสามารถเก็บรักษาได้ประมาณ 3 สัปดาห์โดยมีคุณภาพในการวางขายที่ดีอีก 1 สัปดาห์
และเมื่อเก็บรักษาผลสับปะรดในทุกกรรมวิธีเป็นเวลา 5 สัปดาห์ จะมีเปอร์เซ็นต์ การสูญเสียน้ำหนักเพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์/สัปดาห์ และเมื่อเก็บรักษาผลสับปะรดในทุกกรรมวิธีเป็นเวลา 5 สัปดาห์ ประกอบทางเคมี
ภายในผลไม่มีความแกต่างกันทางสถิติ แต่จะพบอาการ Chilling Injury เพิ่มมากขึ้นเมื่อเก็บรกษานานขึ้น
ที่เปอร์เซ็นต์ ความสุกสูงจะพบอาการ Chilling Injury รุ่นแรงกว่า เปอร์เซ็นต์ ความสูงต่อ ในระยะเวลาเก็บ
รักษาเดียวกัน และปริมาณไวตามินซี มีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการ Chilling อย่างไรก็ตาม
การทดลองนี้จะต้องทำซ้ำอีกเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่ชัดยิ่งขึ้น