ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาข้าวเปลือกและแป้งข้าวเจ้าต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวเจ้า (ระยะที่ 3)
สุพัตรา สุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ จันทนา สรสิริ จิตกร นวลแก้ว และ สมบัติ รุจาคม
รายงานผลการวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2536
บทคัดย่อ
นำข้าวเจ้า 4 พันธุ์เป็นตัวแทนข้าวที่มีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกันคือ
1.High amylose, Hard get PSL 60-2 2.High amylose,
Foft gel RD 27 3.Low amylose, Soft gel KDML105 4.Intermediate
amylose, Soft gel RD7 เก็บในรูปข้าวเปลือกและแป้งข้าวเจ้า 1 ปี นำออกมาศึกษา
การทำขนมไทย โดยการทำขนมประเภท กวน ทอด นึ่ง มีแบบสอบถามเป็นคะแนนความ
ชอบแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ 1 เลว, 2 ค่อนข้างเลว, 3 ปานกลาง, 4 ดี, และ 5 ดีเลิศ
ใช้ชิม 10 คน การทำขนมจะใช้สูตรเดียวกันทั้งหมดในข้าว 4 พันธุ์ จากการทดลองเก็บ 1 ปี
นำมาทำขนมยังไม่มีผลในเรื่องของกลิ่น แต่ลักษณะของขนมจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำดอกไม้
หน้าขนมจะปุ๋มมากขึ้นเมื่อเก็บไว้เป็นเวลา 1 ปี ขนมที่พันธุ์ข้าวไม่มีผลต่อลักษณะขนม คือ
ขนมครก และขนมดอกจอก