ตรวจสอบคุณภาพการสีของข้าวนาน้ำฝน (ระยะที่ 1)
สุภาณี จงดี มงคล มั่นเหมาะ และ ราตรี บุญญา
รายงานวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2536
บทคัดย่อ
ตัวอย่างข้าวที่นำมาวิเคราะห์คุณภาพการสีของข้าวนาน้ำฝน ได้จากแปลงเปรียบผลผลิต
ข้าวนาสวนในนาราษฎร์ในเขตศูนย์วิจัยข้าวแพร่ นาปี 2536 ซึ่งจำแนกหมวดหมู่ของข้าว
เป็นข้าวชุดไวต่อช่วงแสงและชุดไม่ไวต่อช่วงแสง ชุดละ 8 พันธุ์/สายพันธุ์
ข้าวชุดไวต่อช่วงแสง ทำการทดลองรวม 5 แปลง ที่ อ.สอง จ.แพร่, อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์,
อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน, อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ใจ จ.พะเยา การวิเคราะห์คุณภาพการสี
พิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว (40-50 คุณภาพการสีดี, 50 คุณภาพ
การสีดีมาก) คุณภาพการสีของข้าวที่ทดสอบเฉลี่ยจาก 5 แหล่งปลูก เป็นดังนี้
SPT7202-PRE-8-1 (44.50), KDML105 (G)-2-2 (51.77), SPTLR81460-9-10-1-1
(51.69), SPT7202-PRE-26-2-GM-7 (47.16), KKNLR77113-UBN-B3-36-5 (44.42), R56376-CPA-5-3-1-3 (49.10), RD6 (51.77) และ KDML105 (41.98) โดยมี 2 พันธุ์
สุดท้ายเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ชุดไม่ไวต่อช่วงแสง ดำเนินการที่ อ.สอง จ.แพร่, อ.เมือง จ.เชียงราย,
อ.สันกำแพง และ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ รวม 4 แปลง คุณภาพการสีเฉลี่ยจาก 4 แหล่งปลูกของแต่ละ
พันธุ์/สายพันธุ์ ได้ดังนี้ KKNLR75052-PRE-40-1-1-1 (45.51),
SPTLR750007-145-1-1 (41.75), KKNLR75051-PMI-65-3-1-1 (46.47),
SPTLR80126-43-1-1-4-1 (43.15), SPTLR80126-43-1-3-4-3 (42.36), SPTLR82022-PRE-26-2-1-GM-18 (40.57), RD10 (44.62) และ SPR90 (47.40)
โดยมี 2 พันธุ์สุดท้ายเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ