คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพและคุณภาพการสีของข้าวญี่ปุ่นเมื่อปลูกในระยะเวลาต่างกัน (ระยะที่ 2)
สุพัตรา สุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ สุมาลี สุทธายศ จิตกร นวลแก้ว และ อานันต์ ผลวัฒนะ
รายงานผลการวิจัยประจำปี 2536 ของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 452-459.
2537
บทคัดย่อ
ทำการทดลองหาระยะเวลาปลูกที่ทำให้คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี โดยใช้การทดลองแบบ
Split plot design 4 ซ้ำ มี Main plot คือวันปลูก ตั้งแต่ต้น พย., กลาง พย., ต้น ธค., กลาง ธค.,
ต้น มค., กลาง มค., ต้น กพ., กลาง กพ., และ Sub plot 2 พันธุ์ 1 Akitakomachi 2 Koshihikari
เนื่องจากปี 2534-2535 ต้น กพ. และกลาง กพ. เมล็ดเก็บเกี่ยวได้ไม่พอวิเคราะห์ ปี 2535-2536
กลาง มค., ต้น กพ. และ กลาง กพ. เมล็ดเก็บเกี่ยวได้ไม่พอวิเคราะห์ ดังนั้น ปี 2534-2535 มี 6
ระยะเวลา และปี 2535-2536 มี 5 ระยะเวลา สรุปน้ำหนักเมล็ดทั้งข้าวเปลือก และข้าวกล้องเปลี่ยนไป
ตามระยะเวลาปลูกพันธุ์ Akitakomachi จะเปลี่ยนแปลงมากกว่าพันธุ์ Koshihikari, ขนาดรูปร่าง
เมล็ดเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ท้องไข่เปลี่ยนแปลงทุกระยะเวลาปลูกค่าท้องไข่น้อยกว่า 1 คุณภาพการสี
ในข้าวทั้ง 2 พันธุ์ ระยะเวลาปลูกที่ทำให้คุณภาพการสีอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (มีเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ด
และต้นข้าวมากกว่า 50) คือต้นเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม