บทคัดย่องานวิจัย

คุณภาพทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์ในเขตศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี (ระยะที่ 3)

เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข รุจี กุลประสูติ อนงค์ พุฒเพ็ง และ สุนันทา หมื่นพล

รายงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2536

บทคัดย่อ

คุณภาพทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์ในเขตศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

ตัวอย่างที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์ของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สำหรับปี 2535/2536

ส่งวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดเพื่อเป็นข้อมูลด้านการปรับปรุงพันธุ์มีทั้งสิ้น 312 ตัวอย่าง จาก 8 แหล่งปลูก

คือ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก 37 ตัวอย่าง สถานีทดลองข้าวชัยนาท 49 ตัวอย่าง สถานีทดลองข้าว

โคกสำโรง 50 ตัวอย่าง ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ 50 ตัวอย่าง สถานีทดลองข้าวพาน 44 ตัวอย่าง ศูนย์วิจัย

ข้าวพัทลุง 37 ตัวอย่าง ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี 32 ตัวอย่างและสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ 13 ตัวอย่าง

ผลการวิเคราะห์ประเมินได้ว่าตัวอย่างทั้งหมดมีกลีบรองดอกสั้นและส่วนใหญ่สีฟาง ในแต่ละแหล่ง

ปลูกตัวอย่างส่วนใหญ่ (ประมาณ 75) จะมีเปลือกสีฟาง แต่ก็มีแห่งที่ยังมีสีน้ำตาลอยู่ถึง 50 เช่น

ข้าวเจ้าของโคกสำโรง แพร่และพาน ตัวอย่างจากสุรินทร์มีเปลือกสีฟางและน้ำตาลครึ่งต่อครึ่ง 80-90

ของประชากรแต่ละแห่งมีความยาวเมล็ดเกิน 7.00 มม. ยกเว้นที่พัทลุงและสุรินทร์ซึ่งมากกว่า 80

มีเมล็ดสั้นกว่า 7.00 มม. ข้าวเจ้าส่วนใหญ่มีรูปร่างเมล็ดเรียว ยกเว้นที่พัทลุง และสุรินทร์ ซึ่ง

ส่วนใหญ่เมล็ดค่อนข้างเรียวสำหรับข้าวเหนียวแล้วทุกแหล่งปลูกจะมีรูปร่างเมล็ดค่อนข้างเรียว

ประมาณ 60-70 ของประชากรแต่ละแหล่งปลูกเป็นท้องไข่น้อยถึงปานกลาง