การสำรวจการผลิตปอในประเทศไทย
ศรีสุดา ทิพยรักษ์ มณเฑียร โสมภีร์ และ แฉล้ม มาศวรรณา
รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
การศึกษาการผลิตปอในประเทศไทย ดำเนินงานโดยวิธีการสุ่มสัมภาษณ์เกษตรกร
เก็บข้อมูลในแปลงเรื่องการปลูกและปฏิบัติของเกษตรกร สุ่มเส้นใยเพื่อวัดความเหนียว
วิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และองค์ประกอบของดิน จากการสัมภาษณ์เกษตรกร
จำนวน 101 ราย ใน 16 จังหวัด พบว่า การปลูกปอแบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ การปลูกปอ
ในนา และการปลูกปอที่ดอน การปลูกปอในนา มีการปฏิบัติที่ จ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ
และชัยภูมิ ที่ จ.อุบลราชธานี และศรีสะเกษ เป็นปอแก้ว ซึ่งส่วนมากเป็นปอแก้วพันธุ์
โนนสูง 2 และที่ จ.ชัยภูมิเป็นปอคิวบาพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นพวกใบแฉก ลำต้นมีหนาม
พื้นที่ปลูกต่อครอบครัวน้อยกว่า 5 ไร่ เวลาปลูกประมาณ ม.ค.-มี.ค. สำหรับปอแก้ว และ
ก.พ.-มี.ค. สำหรับปอคิวบา กสิกรส่วนมากซื้อเมล็ดเพื่อปลูก วิธีปลูกโดยมากใช้วิธีปลูก
เป็นหลุม จำนวนต้นนับเมื่อปออายุ 2-4 เดือน เกินกว่าจำนวนแนะนำคือ ประมาณ
6 หมื่นตัน/ไร่ มีการถอนแยกและกำจัดวัชพืชบ้าง ดินปลูกปอแก้วเป็นดินร่วนทราย
อินทรียวัตถุในดินต่ำกว่า 1 และ pH ดินน้อยกว่า 5 ฟอสเฟตและโปแตสเซียมที่เป็น
ประโยชน์ต่อพืช พอเพียงสำหรับความต้องการ ส่วนดินปลูกปอคิวบาเป็นดินร่วนและ
ร่วนทราย ส่วนมากปริมาณอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1 pH ดิน 5-7 ปริมาณฟอสเฟตและ
โปแตสเซียมในดิน ค่อนข้างต่ำกว่าความต้องการกสิกรที่สัมภาษณ์ทั้งหมดใส่ปุ๋ยเคมี
โดยมากใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในปอแก้ว ในอัตราน้อยกว่า 25 กก./ไร่ ส่วนมากใส่พร้อม
ปลูก การปลูกปอคิวบาโดยมากใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตราน้อยกว่า 25 กก.ไร่ การใส่ปุ๋ยมีทั้งใส่
พร้อมปลูกและเมื่อปอโตแล้ว โรคไม่มีปัญหาแต่มีแมลงกัดต้นและมีเพลี้ยอ่อนระบาด
ในช่วงต้นฤดู เก็บเกี่ยวประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. ในปอแก้ว และ มิ.ย.-ก.ย. ในปอคิวบา
ความเหนียวของเส้นใยปอแก้วในนาประมาณ19.4 กรัม/เท็กซ์ ขณะที่ปอคิวบาหลัง
เก็บเมล็ดแล้วนำเส้นใยมาแช่ฟอก จะมีความเหนียวเท่ากับ 18.1 กรัม/เท็กซ์ ในสภาพ
ที่ดอน ปอแก้วปลูกมากที่ จ.อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ และนครราชสีมา