การศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของน้ำแช่ฟอกต้นปอสดหรือห่อกลีบสดกับเวลาในการแช่ฟอกและคุณภาพของเส้นใย
แฉล้ม มาศวรรณา มณเฑียร โสมภีร์ และ ทองปูน เพ่งหากิจ
รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมของปอต่อน้ำในการแช่ฟอกปอเพื่อให้ได้เส้นใยคุณภาพดี
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ระหว่างเดือน กันยายน-ตุลาคม 2536 จำนวน 5 การทดลอง
โดยทำการทดลองแช่ปอในกระป๋องพลาสติก ในท่อคอนกรีต และในบ่อคอนกรีตขนาดใหญ่
เปรียบเทียบกับการแช่ต้นสดและกลีบสดของปอแก้ว ปอคิวบา และปอกระเจา ฝักกลมและฝักยาว
หลายพันธุ์ ใช้สัดส่วนของปอต่อน้ำแตกต่างกันตั้งแต่ 1:2.5-1:60 ผลการทดลอง พบว่า
ปอกลีบสดใช้เวลาแช่ฟอกน้อยกว่าการแช่ต้นสด เมื่อทำการทดลองในกระป๋องและท่อคอนกรีต
ครั้งแรกในเดือนกันยายน ส่วนอี 2 การทดลองที่ทำภายหลังการแช่ต้นสดในท่อคอนกรีต
ใช้เวลาน้อยกว่าการแช่กลีบสดในท่อคอนกรีต ปอต่างชนิดกันใช้เวลาแช่ฟอกต่างกัน ปอแก้ว
ใช้เวลาแช่ฟอก < ปอคิวบา < ปอกระเจา ความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำกับเวลาในการแช่ฟอกปอ
ยังมีความแตกต่างกันระหว่างการทดลอง ผลจาก 3 ใน 5 การทดลอง ทั้งปอแช่กลีบสด
และต้นสด พบว่า ปริมาณน้ำแช่ฟอกมากขึ้น ทำให้คุณภาพเส้นใยดีขึ้น อีก 2 การทดลอง
ในกระป๋องไม่พบความแตกต่างของคุณภาพเส้นใยเมื่อปริมาณน้ำต่างกัน
(คุณภาพเส้นใยดีมากทุกระดับน้ำ) โดยทั่วไปคุณภาพเส้นใยปอแช่กลีบสดจะดีกว่าหรือ
ใกล้เคียงกับปอแช่ต้นสด คุณภาพเส้นใยปอแตกต่างกันตามชนิดของปอ เส้นใยปอแก้วและ
ปอคิวบามีคุณภาพดีใกล้เคียงกันและดีกว่าเส้นใยปอกระเจา (ทั้งผักกลม และฝักยาว)
ความเหนียวของเส้นใยปอแช่กลีบสดจะน้อยปอแช่ต้นสด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า
สัดส่วนของปอต่อน้ำที่เหมาะสม ได้แก่ 1:20-1:60