การศึกษาระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของงา เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าทำลายเมล็ดจากโรคเน่าดำ (Macrophomina phaseolina)
พรพรรณ สุทธิแย้ม ไพศาล ศุภางคเสน สุพจน์ หมื่นวณิชกุล ศิริพงษ์ คุ้มภัย ธีระพล พลอามาตย์ และ วาสนา ปัตลา
รายงานประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อุบลราชธานี.
2537
บทคัดย่อ
โรคเน่าดำของงาเกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina) และเป็นโรคราที่สำคัญที่สุด
เพราะงาที่ถูกโรคทำลายจะให้ผลผลิตต่ำและหากเกิดโรครุนแรง ต้นงาจะแห้งตายจำนวนมาก โรคจะแสดง
อาการในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว โดยจะพบจุดสีดำบนเปลือกเมล็ด ทำให้เมล็ดงามีสีคล้ำ (ในกรณีงาขาว) และเมล็ด
ดังกล่าว เมื่อนำไปปลูกเมล็ดจะไม่งอกหรือต้นที่งอกไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของโรคนี้ จึง
ทดลองหาช่วงเก็บเกี่ยวงาที่เหมาะสม ซึ่งจะได้เมล็ดพันธุ์งาที่บริสุทธิ์ปราศจากโรคเน่าดำ โดยวางแผนการ
ทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ และ 5 กรรมวิธี คือ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวต่าง ๆ คือ 40, 45, 50, 55 และ 60 วัน
หลังดอกแรกบาน ศึกษาในงาขาวพันธุ์มหาสารคาม 60 สุ่มเมล็ดแต่ละกรรมวิธีมา ตรวจนับเมล็ดที่มี Scterotia
(จุดดำ) ของเชื้อบนเปลือกภายใต้กล้อง stereoscope แล้วนำเมล็ดดังกล่าวมาทดสอบความงอก และตรวจ
นับเมล็ดที่แสดงว่ามีเชื้อราสาเหตุบนกระดาษเพาะในวันที่ 3 หลังจากเพาะ ทำการทดลองที่ ศวร.อุบลราชธานี
ทั้งต้นฝนและปลายใน การทดลองในปีนี้เป็นปีที่ 2 พบว่า การเก็บเกี่ยวงาที่ช้าออกไปจะพบเมล็ดที่มีเชื้อราสาเหตุ
ของโรคเน่าดำ น้อยลง จากการทดลองต้นฝนและความงอกจะเพิ่มขึ้น เมื่อเมล็ดมีเชื้อราสาเหตุน้อย ซึ่งเป็นผล
การทดลองที่ตรงกันข้ามกับผลการทดลองต้นฝน ในปีแรก (2535) ที่เมื่อเก็บเกี่ยวงาช้าออกไปจะพบเมล็ดที่มี
เชื้อราสาเหตุมากขึ้น และพบว่าความงอกลดลงไปด้วย ส่วนการทดลองในช่วงปลายฝน (ปลูก 27 ส.ค.2536)
ในปีที่ 2 การเก็บเกี่ยวเพิ่งจะสิ้นสุดลง สำหรับในปีแรกพบว่าเมล็ดมีเชื้อราสาเหตุของโรคน้อย (เฉลี่ย 2.5) และ
ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะเก็บเกี่ยวเมื่อใด และความงอกก็สูงด้วย (เฉลี่ย 77.6) แสดงว่าการเก็บเกี่ยวที่เร็วขึ้นไม่อาจ
หลีกเลี่ยงการเกิดโรคเน่าดำบนเมล็ดได้เสมอไป แต่อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนหรือความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
ในระยะเก็บเกี่ยวหรือก่อนเก็บเกี่ยว อาจมีผลต่อการเกิดโรคเน่าดำบนเมล็ด ซึ่งจะได้ทำการศึกษาต่อไป