การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำที่ผ่านกรรมวิธีหลังการเก็บเกี่ยวต่างกัน (ระยะที่ 2)
สมชาย บุญประดับ มนตรี ชาตะศิริ ทอม เตียะเพชร และ จรัสพร ถาวรสุข
รายงานประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทและสถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ชัยนาท.
2536
บทคัดย่อ
ในการผลิตถั่วเขียวผิวดำเพื่อการส่งออกมักประสบปัญหาที่สำคัญ คือ คุณภาพ
เมล็ดไม่ดีเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติด้วยวิธีดั้งเดิมในช่วงหลังเก็บเกี่ยว ตั้งแต่
การนวดและทำความสะอาดเมล็ดที่ไม่ถูกวิธี ดังนั้นจึงศึกษาถึงกรรมวิธีต่าง ๆหลังการเก็บเกี่ยว
ที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงคุณภาพเมล็ดให้ดีขึ้นตามความต้องการของตลาด ดำเนินการทดลอง
ที่แปลงทดลองของสถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลกในฤดูฝน (สิงหาคม-พฤศจิกายน) ปี 2535
และ 2536 ใช้ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พิษณุโลก 2 วางแผนการทดลองแบบ 2x3 Factorial in
RCB มี 4 ซ้ำ ปัจจัยแรกเป็นวิธีการนวด 2 วิธีคือ รวดบนลานดินด้วยรถไถเดินตามและนวด
ด้วยเครื่องนวด ปัจจัยที่สองเป็นวิธีทำความสะอาด 3 วิธีคือ ทำความสะอาดด้วยวิธีกสิกร
(ตะแกรงร่อน) เครื่องเป่าลมขนาดเล็กและเครื่อง Seed processing ผลการตรวจสอบ
คุณภาพเมล็ดหลังผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เมื่อเก็บเกี่ยว พบว่าการนวดด้วยเครื่องนวดถั่วเขียวผิวดำ
ให้ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์สูงกว่าการนวดบนลานดินเท่ากับ 98.4 และ97.9 ตามลำดับ
การทำความสะอาดเมล็ดโดยใช้เครื่องเป่าลมขนาดเล็กและเครื่อง Seed processing
ให้ความบริสุทธิ์ของเมล็ดไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ให้ค่าแตกต่างกับการทำความสะอาดด้วย
วิธีกสิกรให้ค่าเท่ากับ 98.9,98.6 และ 79.8 เมื่อเก็บรักษา0, 3 และ 6 เดือน ตามลำดับ สูงกว่า
การนวดด้วยเครื่องนวด (เท่ากับ 86.9, 81.3 และ 71.4 เมื่อเก็บรักษา 0, 3 และ 6 เดือนตามลำดับ)
และเมื่ออายุการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นจะทำให้ความงอกของเมล็ดและความแข็งแรงของเมล็ดลดลง
ตามลำดับ ในกรรมวิธีที่นวดบนลานดิน ผลปรากฏว่าการทำความสะอาดเมล็ดโดยใช้เครื่อง
Seed processing ให้ความงอกสูงสุด 86.8 รองลงมาคือวิธีกสิกรและเครื่องเป่าลมขนาดเล็ก
ให้ความงอก 75.4 และ 74.6 ตามลำดับ ส่วนการนวดด้วยเครื่องผลปรากฏว่า การทำความ
สะอาดเมล็ดโดยวิธีกสิกรให้ความงอกสูงสุด 81.4 รองลงมาคือเครื่องเป่าลมขนาดเล็กและเครื่อง
Seed processing