การศึกษาคุณภาพเมล็ดทางกายภาพของพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝนสายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 3)
ชูชาติ สวนกูล สุเทพ ฤทธิ์แสวง รุจิรา ปรีชา วิเชียร พงศาปาน มนูญ เอนกชัย มนูญ กาญจนภักดิ์ และ จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2536
บทคัดย่อ
ฤดูนาปี 2535/36 ได้รับตัวอย่างข้าวจากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และสถานีทดลองข้าว
เครือข่ายทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีทดลองข้าวนครศรีธรรมราช สถานีทดลองข้าวปัตตานี และ
สถานีทดลองข้าวกระบี่ รวมทั้งสิ้น 837 ตัวอย่าง เป็นข้าวเปรียบเทียบผลผลิตในสถานี 178
ตัวอย่าง ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี 494 ตัวอย่าง ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตในนา
ราษฏร์ 165 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ปรากฏผลดังนี้ ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตในสถานี
เปลือกสีฟางมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ รูปร่างของเมล็ดยาวเรียว ความยาวของเมล็ดข้าวกล้อง
อยู่ระหว่าง 5.7-8.7 มม. จัดเป็นข้าวเมล็ดยาว 78 ตัวอย่าง อยู่ระหว่าง 6.6-7.50 มม. และ
ยาวเกินกว่า 7.50 มม. 381 ตัวอย่าง เป็นท้องไข่น้อย 43 ตัวอย่าง และเป็นปานกลางถึงค่อน
ข้างมาก 40 ตัวอย่าง -ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี พบว่า สีข้าวเปลือกส่วนใหญ่
สีฟาง 84 เปอร์เซ็นต์ ความยาวของเมล็ดข้าวกล้องอยู่ระหว่าง 5.57-8.2 มม. ส่วนใหญ่
รูปร่างเรียว 75 เปอร์เซ็นต์ เป็นข้าวที่มีท้องไข่น้อย 82 เปอร์เซ็นต์ เป็นท้องไข่ปานกลาง
14 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 149 ตัวอย่าง และเป็นท้องไข่มาก 78 ตัวอย่าง ข้าวเปรียบเทียบ
ผลผลิตในนาราษฎร์ ความยาวเมล็ดข้าวกล้องอยู่ระหว่าง 6.33-7.58 มม. ส่วนใหญ่
รูปร่างยาวเรียว เป็นท้องไย่น้อย 75 เปอร์เซ็นต์ มีเปลือกสีฟาง และสีน้ำตาล