การศึกษาคุณภาพของงาบางพันธุ์เมื่อทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
พงศ์พันธุ์ จึงอยู่สุข วันชัย สร้อยอินทรากุล และ อำไพ เจริญวงศ์
รายงานผลการวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และสถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงใหม่.
2536
บทคัดย่อ
ได้ทดลองนำงาจำนวน 8 สายพันธุ์ จากแปลงทดสอบในไร่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
มาศึกษาคุณภาพ ประกอบด้วยHnanni MKS-I-82025 MKS-I-84006 FAO-84-582
MKS-I-84013 มหาสารคาม 60 นครสวรรค์ และ MKS-I-84001 ผลปรากฏว่า งาทั้ง 8 พันธุ์
มีน้ำมัน 47-63 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 16-27 เปอร์เซ็นต์ แป้ง 2-14 เปอร์เซ็นต์
เส้นใย 3-10 เปอร็เซ็นต์ เถ้า 4-7 เปอร์เซ็นต์ งาพันธุ์ MKS-I-84006 MKS-I-84013
และนครสวรรค์ เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณน้ำมันสูง 63 61 และ 59 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
โดยพันธุ์ที่มีปริมาณน้ำมันต่ำสุด 47 เปอร์เซ็นต์ คือ MKS-I-84001 พันธุ์นครสวรรค์
เป็นพันธุ์ที่มีโปรตีนสูงสุด 27 เปอร์เซ็นต์ รองลงไปคือ พันธุ์ FAO-84-582 23 เปอร์เซ็นต์
และพันธุ์ MKS-I-82025 มหาสารคาม 60 มีน้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์