การศึกษาค่าใช้จ่ายในการแช่ฟอกและสกัดเส้นใยปอวิธีแนะนำในสภาพไร่นา
แฉล้ม มาศวรรณา มณเฑียร โสมภีร์ ทองปูน เพ่งหากิจ และ ศรีสุดา ทิพยรักษ์
รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาเวลาและค่าใช้จ่ายตั้งแต่ตัดปอจนกระทั่งเสร็จสิ้นขึ้นตอนล้างเส้นใยในสภาพกสิกร
ที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี (2 แปลง) และ อ.เมือง จ.มหาสารคาม (1 แปลง) เปรียบเทียบวิธีการ
แช่ฟอกปอแก้วพันธุ์โนนสูง 2 4 แบบ คือ การแช่ต้นสดแช่ต้นที่ทิ้งไว้จนใบร่วง (1 สัปดาห์) แ
ช่กลีบสดและแช่กลีบแห้ง ที่มหาสารคามศึกษาวิธีการแช่ฟอกเพียง 2 แบบแรก พบว่าการแช่ปอ
ที่ทิ้งไว้จนใบร่วงแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติอยู่เสียเวลาและค่าแรงงานทั้งหมด
น้อยกว่าการแช่ปอต้นสด การแช่ปอกลีบสดเสียเวลาและค่าแรงงานทั้งหมดพอ ๆ กับการแช่ปอ
ต้นสด ทั้งนี้เนื่องจากปอมีลำต้นขนาดใหญ่และแตกกิ่ง และไม่มีการใส่ปุ๋ย ทำให้แกนเหนียวและ
ติดเปลือก จึงต้องใช้แรงคนช่วยลอกเปลือกหลังจากสีด้วยเครื่องแล้ว ในบรรดาขึ้นตอนต่างๆ
ของการทำงานตั้งแต่เก็บเกี่ยวจนล้างเส้นใย การลอกปอเป็นขั้นตอนที่เสียเวลาและค่าแรงงาน
มากที่สุด โดยทั่วไปคุณภาพเส้นใยปอต่ำ มีสีคล้ำ เพราะปริมาณน้ำแช่ฟอกจำกัด เส้นใยปอ
ที่ลอกด้วยเครื่อง (ปอกลีบ) มีความเหนียวลดลง