การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและเศรษฐกิจของสารเคมีในการแช่ฟอกปอ
มณเฑียร โสมภีร์ ทองปูน เพ่งหากิจ และ แฉล้ม มาศวรรณา
รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
ทำการศึกาาความเป็นไปได้ในการใช้สารเคมีแช่ฟอกเพื่อสกัดเส้นใยปอแก้วพันธุ์ขอนแก่น 60
โดยต้มปอกลีบสดและกลีบแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ในสารละลาย 1 ของแอมโมเนียม
ออกซาเลท แอมโนเนียมฟอสเฟต และแอมโมเนียมซัลเฟต สัดส่วนของปอกลีบสดต่อน้ำเท่ากับ
1:20 w/v และปอกลีบแห้งต่อน้ำเท่ากับ 1:50 พบว่า แอมโมเนียมออกซาเลทเป็นสารเคมีที่มี
ความเป็นไปได้ในการใช้สกัดเส้นใยปอกลีบสดและปอกลีบแห้ง ปอกลีบสดต้องการเวลาในการ
ต้มน้อยกว่าปอกลีบแห้ง (2 ชั่วโมง และ 2-5 ชั่วโมง/ตัวอย่าง ตามลำดับ) สารละลายแอมโมเนียม
ออกซาเลท 1 ตัวอย่าง สามารถสกัดเส้นใยปอกลีบสดได้มากครั้ง (8 ครั้ง) กว่าปอกลีบแห้ง
(4-7 ครั้ง) การสกัดเส้นใยปอกลีบแห้งด้วยสัดส่วนของปอต่อน้ำ 1:50 w/v ใช้เวลาต้มน้อยกว่า
สัดส่วนปอต่อน้ำ 1:20 w/v ถึงเท่าตัว สารละลายแอมโมเนียมฟอสเฟต 1 และแอมโมเนียมซัลเฟต
1 ไม่สามารถใช้สกัดเส้นใยปอกลีบสดได้ แม้จะต้มเป็นเวลานาน (5-13 ชั่วโมง) เส้นใยที่สกัด
ได้จากการต้มสารละลายแอมโมเนียมออกซาเลทมีสีฟางข้าว สะอาด แต่ค่อนข้างแข็งกระด้าง
เส้นใยที่สกัดจากปอกลีบแห้งสีจะคล้ำกว่าเล็กน้อย เมื่อนำเส้นใยบางตัวอย่างที่ต้มด้วย
สารแอมโมเนียมออกซาเลทไปวัดความเหนียว พบว่าเส้นใยจากการต้มกลีบสดเป็นเวลา
1 ชั่วโมง 5 นาที กับ 2 ชั่วโมง 45 นาที มีความเหนียวไม่ต่างกัน
(17.5 และ 17.1 กรัม/เท็กซ์ ตามลำดับ) เส้นใยปอกลีบแห้งมีความเหนียวลดลง
เมื่อให้สัดส่วนของปอต่อน้ำ 1:20 w/v 1:50 w/v (16.6 และ 15.9 กรัม/เท็กซ์)
เมื่อต้ม 2 ชั่วโมง 20 นาที และ 10 ชั่วโมง เทียบกับ 17.5 กรัม/เท็กซ์ เมื่อต้ม
2 ชั่วโมง 20 นาที ตามลำดับ สารละลายของสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ที่ใช้ต้มสกัดเส้นใยปอ
สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยให้แก่ข้าวโพดไร่ได้ดีพอสมควร อย่างไรก็ตามการใช้สารเคมีสกัด
เส้นใยปอมีความเป็นไปได้เฉพาะในระดับงานวิจัย เนื่องจากคุณภาพเส้นใยยังด้อยกว่าการ
แช่วิธีปกติและค่าใช้จ่ายยังสูงมากเมื่อเทียบกับราคาเส้นใยปอ