การศึกษาการสูญเสียด้านคุณภาพและปริมาณในขณะเก็บรักษาของข้าวนึ่งและข้าวธรรมดาในสภาพการสีปกติและขัดเงา (ระยะที่ 3)
กิติยา กิจควรดี ศรีศักดิ์ ธานี กัมปนาท มุขดี ไพฑูรย์ อุไรรงค์ เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข ยุวดา เกิดโกมุติ สุนันทา เมื่นพล และ ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต
รายงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2536
บทคัดย่อ
ใช้พันธุ์ข้าว สพ 90 ฤดูนาปี 2534 จากศูนย์/สถานี 5 แห่งๆละ 2 ต้น วางแผน
การทดลองแบบ Factorial in RCB มี 2 ปัจจัยที่ 1 เป็นชนิดข้าว (ข้าวนึ่ง-ข้าวธรรมดา)
ปัจจัยที่ 2 เป็นวิธีการขัด (สีปกติ-ขัดเงา) ทำ 5 ซ้ำมี 4 กรรมวิธีคือข้าวนึ่งสีปกติ ข้าวนึ่ง-ขัดเงา
ข้าวธรรมดา-สีปกติ ข้าวธรรมดาขัดเงา แบ่งทำจากแต่ละศูนย์/สถานีออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1
นำไปกระเทาะเปลือกและสีเป็นข้าวธรรดา เสร็จแล้วแบ่งข้าวที่สีได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 นำ
ไปขัดเงาด้วยเครื่องขัดไอน้ำ ยี่ห้อโซอาร์ ของบริษัทไรซ์เอ็นจิเนียร์ ข้าวเปลือก ส่วนที่ 2 นำไปทำ
เป็นข้าวนึ่งด้วยเครื่องทำข้าวนึ่ง แล้วกระเทาะเปลือกและสีเช่นข้าวสารนึ่ง แบ่งข้าวสารนึ่งออกเป็น
2 ส่วน ส่วนที่ 1 นำไปขัดเงาด้วยเครื่องขัดไอน้ำ เสร็จแล้วบรรจุข้าวทั้งหมดในกระสอบป่าน
ขนาดบรรจุ 17 กก.นำไปเก็บไว้ในโรงเก็บสภาพปกติเก็บเป็นเวลานาน 12 เดือน ทุกๆเดือน เก็บ
ตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพเมล็ด ผลการทดลองพบว่าการเก็บข้าวในรูปข้าวนึ่งหรือข้าว
ธรรมดามีความเสียหายเนื่องจากถูกแมลงในโรงเก็บทำลายไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ข้าวนึ่ง
มีแนวโน้มจะถูกแมลงทำลายน้อยกว่าข้าวธรรมดาเมื่อระยะการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นและการนำข้าว
ไปขัดเงาหรือไม่ขัดเงาไม่มีผลทำให้การทำลายของแมลงแตกต่างกัน สำหรับน้ำหนัก/ปริมาตร
(weight/Bushed) ของข้าวพบว่าข้าวนึ่งมี น.น./ปริมาตรน้อยกว่าข้าวธรรมดาอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ และข้าวที่ขัดเงาจะมีน้ำหนัก/ปริมาตรความแกร่งของเมล็ด (Hardness)
ข้าวนึ่งมีความแกร่งมากกว่าข้าวธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การขัดเงาหรือไม่ขัดเงา
ไม่มีผลทำให้ความแกร่งแตกต่างกัน ส่วนลักษณะความขาวของข้าว (whitrnen) พบว่าข้าวนึ่ง
มีความขาวน้อยกว่าข้าวธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและในข้าวสารปกติ การขัดเงาหรือไม่
ขัดเงาจะมีความขาวไม่แตกต่างกัน แต่ในข้าวนึ่งในระยะเดือน 1-8 ของการเก็บรักษา