การศึกษาการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการแช่ฟอกปอ
มณเฑียร โสมภีร์ แฉล้ม มาศวรรณา และ ทองปูน เพ่งหากิจ
รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน / ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการแช่ฟอก เพื่อแก้ปัญหาโคนแข็งของ
เส้นใยปอ ทำการทดลอง 2 แบบ คือ แช่ในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
(ท่าพระ) และในถังซีเมนต์ขนาดเล็กศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น (มอดินแดง)
ระหว่างวันที่ 2-17 กันยายน 2536 โดยเปรียบเทียบวิธีการแช่บ่อ 3 วิธี คือ 1) การใส่
ปุ๋ยยูเรีย 0.5 ของน้ำหนักต้นสด 2) การทุบโคนต้นแล้วจุ่มในสารละลายยูเรีย 5 เป็นเวลา
ประมาณ 5 นาที 3) การแช่ฟอกปกติ โดยใช้ปอคิวบาพันธุ์ขอนแก่น 30 ปอกระเจา
ฝักกลมพันธุ์ลิซ่าและโซลิมอส และปอกระเจาฝักยาว จากผลการทดลองทั้ง 2 แบบไม่
พบความแตกต่างของเวลาในการแช่ฟอกเมื่อแช่ด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน การแช่ในบ่อซีเมนต์
ใช้เวลา 12-13 วัน การแช่ในถังซีเมนต์ใช้เวลา 6-7 วัน ระหว่างชนิดและพันธุ์ปอที่
แตกต่างกัน พบว่า แต่ละพันธุ์จะใช้เวลาแช่ฟอกต่างกันคือ เมื่อแช่ในบ่อ ปอคิวบาขอนแก่น 60
ปอกระเจาฝักกลมพันธุ์ลิซ่าและโซลิมอส และปอกระเจาฝักยาว ใช้เวลาแช่ 10, 12, 13
และ 15 วัน ตามลำดับ โดยทั่วไปคุณภาพเส้นใยของปอที่แช่ในถังจะดีกว่าที่แช่ในบ่อ
ไม่พบความแตกต่างกันของคุณภาพเส้นใยเมื่อใส่ยูเรีย หือทุบโคนหรือแช่ปกติ ไม่ว่าจะ
แช่ในถังหรือในบ่อ แต่พบความแตกต่างของคุณภาพเส้นใยระหว่างพันธุ์ต่าง ๆ คือ
เส้นใยปอคิวบามีคุณภาพดีมาก เส้นใยคุณภาพดีรองลงมา คือ ปอกระเจาฝักกลมและ
ปอกระเจาฝักยาว อย่างไรก็ดี เส้นใยปอกระเจาฝักยาวจะมีคุณภาพดีขึ้นมากเมื่อแช่ใน
ถังซีเมนต์ ความเหนียวของเส้นฝนไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะแช่ในบ่อซีเมนต์ หรือถัง
ขนาดเล็ก หรือไม่ว่าจะแช่โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจน