การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดเพื่อคัดเลือกข้าวพันธุ์ดีภาคกลาง (ระยะที่ 3)
เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข สุนันทา หมื่นพล อนงค์ พุฒเพ็ง รุจี กุลประสูติ
รายงานวิจัยประจำปี 2536 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2536
บทคัดย่อ
จากงานปรับปรุงข้าวภาคกลางของปีเพาะปลูก 2535/2536 ที่นำมาวิเคราะห์และประเมิน
คุณสมบัติเมล็ดทางกายภาพ เพื่อเป็นข้อมูลในการคัดเลือก และออกข้าวพันธุ์ดีสำหรับส่งเสริม
ให้เกษตรกรปลูกในเขตภาคกลางนั้น ในปีนี้มีตัวอย่างที่มาจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีและสถานี
ทดลองเครือข่ายรวมทั้งนั้น 2,431 ตัวอย่างได้แก่ งานเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี 1,007
ตัวอย่าง เปรียบเทียบผลผลิตระวห่างสถานี 1,320 ตัวอย่าง และเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร
104 ตัวอย่าง จากผลการทดลองประเมินได้ว่า ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีมีความยาว
เมล็ดแปรปรวนในช่วง 6.33-8.02 มม. และ 87 มีรูปร่างเมล็ดเรียวประมาณ 74 ของตัวอย่าง
เป็นท้องไข่น้อย เปลือกเมล็ดมีสีฟางและน้ำตาล 70 และ 30 ตามลำดับ ข้าวเปรียบเทียบผลผลิต
ระหว่างสถานีเกือบทั้งหมดมีคุณภาพดี คือมีรูปร่างเมล็ดเรียวความยาวของเมล็ดอยู่ระหว่าง
7.43-7.62 มม. ประมาณ 90 ของประชากรเป็นท้องไข่น้อย 3 ใน 4 ของตัวอย่างทั้งหมดมี
เปลือกสีฟางที่เหลือสีน้ำตาล ข้าวเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร ส่วนใหญ่ก็มีคุณภาพเมล็ดดี
คือรูปร่างเมล็ดเรียวทั้งหมด ความยาวเมล็ดระหว่าง 7.43-7.52 มม. ประมาณ 80 ของ
ประชากรเป็นท้องไข่น้อย เมล็ดข้าวเปลือกมีสีฟาางเกือบทั้งหมด