การเก็บรักษาเส้นใยป่านรามีหลังขูดลอก
แฉล้ม มาศวรรณา ฐิติ สินธุนาคร และ มณเฑียร โสมภีร์
รายงานผลงานวิจัยปี 2536 (เล่ม 2) ปอ-ป่าน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 394 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาวิธีการเก็บรักษาเส้นใยป่านขูดแห้งของป่านรามีโดยการรมควัน
กำมะถันด้วยระยะเวลาแตกต่างกัน 5 วิธีการ คือ 0, 1/2, 1, 2 และ 4 ชั่วโมง และมีระยะ
เวลาในการเก็บรักษาเส้นใยป่านขูด 6 วิธีการ คือ 0, 1, 2, 4, 6 และ 12 เดือนเริ่มการ
ทดลองเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 คาดว่าจะเสร็จสิ้นการทดลองในวันที่ 4 พฤศจิกายน
2537 ใช้ป่านขูดที่ศึกษาได้จากการเก็บเกี่ยวป่านรามีทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2536
2 พันธุ์แรกเป็นป่านที่ปลูกในปี 2531 ส่วนอีก 2 พันธุ์ปลูกในปี 2535 พบว่า ความชื้น
ของป่านขูดเฉลี่ยจาก 2 ซ้ำ ของ 4 พันธุ์ เท่ากับ 6.56 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองถึงขณะนี้
พบว่า หลังการรมกำมะถันป่านขูดจะมีกลิ่นเหม็นกำมะถัน เมื่อสัมผัสป่านกลิ่นจะติดมือ
เวลาในการรม เวลาในการเก็บรักษา 0, 1 และ 2 เดือน และพันธุ์ป่านไม่มีความแตกต่างกัน
ทางด้านสีและความกระด้างของป่านขูด การเก็บรักษายังคงดำเนินต่อไปอีก 3 วิธีการ
การต้มด่างเพื่อสกัดเส้นใยและตรวจสอบคุณภาพอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องทำ