บทคัดย่องานวิจัย

ผลของโรคเมล็ดด่างที่มีต่อคุณภาพทางกายภาพและการหุงต้มรับประทานข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก (ระยะที่ 1)

นิวัติ เจริญศิลป์ ประเวศน์ ศิริเดช และ ประโยชน์ เจริญธรรม

รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2537 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 208-211.

2537

บทคัดย่อ

ผลของโรคเมล็ดด่างที่มีต่อคุณภาพทางกายภาพและการหุงต้มรับประทานข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก

โรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่มีความสำคัญโรคหนึ่งที่พบว่าระบาดในทุกท้องที่ โรคเมล็ดด่าง

เกิดจากเชื้อรา ทำให้เมล็ดข้าวเกิดแผล เป็นจุดสีดำและน้ำตาล ทำให้เมล็ดลีบบางส่วน มีผล

ทำให้ผลผลิตลง แต่ไม่เป็นที่ยืนยันว่าจะมีผลต่อคุณภาพเมล็ดมากน้อยเพียงใดจึงได้ทำ

การทดลองศึกษาคุณภาพการสี และคุณภาพหุงต้มรับประทานของเมล็ดข้าวที่เป็น

โรคเมล็ดต่าง ๆ ในระดับความรุนแรงต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข

ต่อไป ในปี 2537 เก็บรวบรวมข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึกจากนาของศูนย์ฯ และ

นาเกษตรกร แล้วนำมาแบ่งกลุ่มเมล็ดออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความรุนแรงของโรค

หลังจากนั้นนำเมล็ดในแต่ละกุล่มมาวิเคราะห์คุณภาพการสี และคุณภาพหุงต้ม

รับประทาน ในปี 2537 ได้รวบรวมข้าวที่เป็นโรคเมล็ดต่าง จากแปลงนาของ

สถานีทดลองข้าวหันตรา 6 พันธุ์ จาก 16 แปลง และจากนาเกษตรกร 5 พันธุ์

จาก 11 แปลง ได้นำตัวอย่างข้าวทั้งหมดมาแยกเป็นกลุ่ม แต่เมล็ดที่ต่ำมาก

เป็นแผล เป็นจุดและไม่เป็นโรคแล้วนำไปวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี เปรียบเทียบ

กับข้าวที่ไม่เป็นโรค เนื่องจากตัวอย่างข้าวแต่ละพันธุ์จากแต่ละแปลงมีจำนวนน้อย

ไม่สามารถนำไปแยกวิเคราะห์คุณภาพการสีตามระดับความรุนแรงของโรคได้

ต้องรวมตัวอย่างวิเคราะห์ พบว่าการเป็นโรคเมล็ดต่างในระดับต่าง ๆ จะไม่มีผล

ทำให้เปอร์เซ็นต์อมิโลส และความคงตัวของแป้งสุก เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ยกเว้นจากแปลงนาเกษตรกร พบว่า ข้าวที่เป็นโรคเมล็ดด่างจะมีเปอร์เซ็นต์อมิโลส

ต่างต่ำลง ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีข้าวแดงหรือข้าวปนมาก ส่วนความหอม และคุณภาพ

การสียังไม่พบความแตกต่างกันมากนัก ปัญหาอุปสรรค ต้องใช้ตัวอย่างข้าวมาก

ในการวิเคราะห์ การแก้ไข เก็บตัวอย่างข้าวที่เป็นโรคให้มากเพียงพอ ทำการ

ทดลองซ้ำในปี 2538